บทเรียนความพ่ายแพ้ของผู้นำในสามก๊ก (บทที่ 10) ความพินาศของตั๋งโต๊ะเมื่อผู้นำมองข้ามประวัติคนใกล้ชิด

บทเรียนความพ่ายแพ้ของผู้นำในสามก๊ก

By อ.เปี่ยมศักดิ์ คุณากรประทีป

(บทที่ 10) ความพินาศของตั๋งโต๊ะเมื่อผู้นำมองข้ามประวัติคนใกล้ชิด

ภายหลังจากที่ลิโป้หิ้วหัวเต๊งหงวนพ่อบุญธรรมคนที่2

ไปเป็นของฝากให้กับตั๋งโต๊ะเพื่อยืนยันความภักดี

ตั๋งโต๊ะเห็นลิโป้มาเป็นแนวร่วมก็ดีใจ ถึงกับกล่าวว่า

"ตัวเราอุปมาเหมือนนาแล้งที่คอยฝน

เมื่อได้ท่านมาก็เหมือนหนึ่งฝนทิพย์ต่อชีวิตให้รอด"

ลิโป้ได้ฟังคำหวานของตั๋งโต๊ะก็รีบคุกเข่าขอบคุณในไมตรี

และเพื่อหวังเอาใจให้เป็นกำลังสำคัญในการยึดอำนาจในเมืองหลวง

จึงรับลิโป้เป็นบุตรบุญธรรม

โดยลืมไปว่าจุดจบเต๊งหงวน

พ่อบุญธรรมของลิโป้เป็นเช่นไร

ความผิดพลาดประการแรกได้เริ่มขึ้นจากจุดนี้

จากนั้นจึงแต่งตั้งให้ลิโป้เป็นองครักษ์คนสนิท

คุณผู้อ่านครับตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งที่เต๊งหงวนได้มอบให้ลิโป้

ก่อนที่เขาจะถูกลูกบุญธรรมปาดคอ

ตวามผิดพลาดประการสองคือการเอางูเห่ามาไว้ใกล้ตัว

ทำไมทั้งตั๋งโต๊ะและเต๊งหงวน

ช่างคิดเหมือนกันเช่นนี้

แสดงว่าทั้งสองคนมีมุมมองในการบริหารคนละม้ายกัน

จึงจัดวางตำแหน่งลิโป้เหมือนกัน

จนกระทั่งอองอุ้น. ขุนนางชี้นผู้ใหญ่ในราชสำนักฮั่น

ทนพฤติกรรมความป่าเถื่อนของตั๋งโต๊ะไม่ไหว

จึงใช้อุบายยุให้ลิโป้แตกหักกับตั๋งโต๊ะ

ด้วยกลสาวงาม

หลอกล่อให้ลิโป้หลงรักเตียวเสี้ยน(ลูกบุญธรรมของอองอุ้น)

แล้วยกเตียวเสี้ยนให้ไปแต่งงานกับตั๋งโต๊ะ

เพื่อให้เกิดชนวนพิษรักแรงหึง

ส่งผลให้ลิโป้และตั๋งโต๊ะแตกคอกัน

จนนำไปสู่แผนการสังหารตั๋งโต๊ะ

แน่นอนว่าคนที่ลงเอาทวนแทงซอกคอตั๋งโต๊ะ

จนลงไปดับอนาถ คาถนนเหมือนสุนัขตัวหนึ่ง

ย่อมไม่ใช่ใครอื่น นอกจากลิโป้ ลูกบุญธรรมของตนเอง

(คุณผู้อ่านครับ)

มรณกรรมของเต๊งหงวน

เกิดจากความโลภของลิโป้

ที่อยากก้าวหน้าในหน้าที่การงาน

จนกล้าสังหารพ่อบุญธรรม

แต่ความพินาศของตั๋งโต๊ะ

เกิดจากพิษรักแรงหึง

และแรงยุจากอองอุ้นที่ให้กำจัดตั๋งโต๊ะ

เพื่อพิทักษ์ราชวงศ์ฮั่นซึ่งเป็นแรงจูงใจอันแสนจะท้าทาย

(แต่ประเด็นหลักคือต้องการทำลายศัตรูหัวใจ)

แม้สาเหตุจะแตกต่างแต่ผลลัพธ์เหมือนกัน

ประเด็นที่น่าศึกษาคือทำไมตั๋งโต๊ะถึงกล้าที่จะกล้าเอางูเห่ามาแขวนคอ

ทั้งที่ก่อนหน้านี้ก็มีกรณีศึกษาของเต๊งหงวนให้ดูเป็นตัวอย่าง

จะบอกว่าบิ๊กตั๋งไม่รู้เรื่องของเต๊งหงวนเลยก็คงไม่ใช่

คำตอบของประเด็นนี้คือ

ความมั่นใจในตนเองที่จะควบคุม

หรือเลี้ยงคนแบบนี้ให้เชื่อง

พูดง่ายๆคือ ผู้นำประเภทนี้เชื่อว่า

ตนเองสามารถเปลี่ยนแปลงคนอื่นได้

แต่เขาลืมไปว่าทุกอย่างมีข้อยกเว้น

เพราะบางคนมีสันดานที่ไม่เอื้อต่อการเป็นคนดี

บางคนเห็นแก่ผลประโยชน์มากกว่าสิ่งอื่น

คนอย่างลิโป้ก็เช่นกัน

เลี้ยงให้ดี ดูแลให้เปรม อย่างไร

ก็ยากที่จะเปลี่ยนแปลง

เพราะเนื้อแท้ของคนเหล่านี้ชั่วร้ายจนยากที่จะหยั่งถึง

ฉะนั้นการจะรับใครเข้ามาในองค์กร

อย่ายึดแค่หลักความสามารถเพียงอย่างเดียว

แต่ต้องตรวจสอบประวัติให้ชัดเจนว่ามีภูมิหลังเช่นไร

เป็นคนดีจริงหรือดีเพราะคำลือ

สาเหตุที่ออกจากที่ทำงานเก่าเพราะอะไร

เคยมีประวัติการโกงหรือคอรัปชั่นมาหรือเปล่า

ผมมั่นใจว่าเราสามารถฝึกให้คนดี (ที่ไม่เก่ง)

กลายเป็นคนเก่งและดีได้อย่างไม่ยาก

แต่เราไม่สามารถฝึกคนเก่ง ที่สันดานไม่ดี

มาเป็นคนดีที่ซื่อสัตย์ และภักดีต่อองค์กรได้

เพราะบ่อยครั้งที่ผลประโยชน์ไม่เข้าใครออกใคร

เนื่องจากคนจำนวนมากมีความโลภเป็นที่ตั้ง

ด้วยข้อจำกัดบางอย่าง

ทำให้คุณตอบโจทย์ความต้องการของเขาไม่ได้

และสุดท้ายก็จะตามมาด้วยการคอรัปชั่นในองค์กร

ขอบคุณข้อมูลจาก อ.เปี่ยมศักดิ์ คุณากรประทีป ผู้เชี่ยวชาญสามก๊ก

1 คำตอบ · +4 โหวต · 0 รายการโปรด · 54 อ่านแล้ว

ยาวแต่ดี ขอบคุณครับท่าน

+1 โหวต · 0 ตอบกลับ

คำตอบของคุณ

(ไม่บังคับ)

เพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีการตอบกลับ

คำถามที่คุณอาจจะสนใจ

คำถามในป้ายกำกับ
ถามคำถาม