คำถาม
ถามคำถาม

วิธีรักษา และ วิธี ป้องกัน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

การรักษาเส้นเลือดหัวใจตีบ มี 3 วิธี คือ

1. รักษาโดยใช้ยา

เป็นวิธีการรักษาหลักในรายที่เป็นไม่มาก หรือช่วยลดอาการแน่นหน้าอกหรือเหนื่อยหอบ อาจใช้เป็นวิธีการรักษาเดี่ยวๆ หรือใช้ร่วมกับการรักษาด้วยวิธีอื่น

ยาที่พิสูจน์แล้วว่าสามารถลดอัตราการเสียชีวิตในคนที่เป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน ได้แก่ แอสไพริน,ยาปิดกั้นเบต้า(Beta blocker)

ยาที่ใช้ลดอาการเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด มี 3 กลุ่มคือ

- ยากลุ่ม Nitrates ช่วยขยายเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ มีทั้งแบบอมใต้ลิ้น(ออกฤทธิ์ภายใน 2-5 นาที และอยู่ได้นาน 15-30นาที), แบบรับประทาน(ออกฤทธิ์ภายใน 15-30 นาทีแล้วแต่ชนิดของยา) และแบบแผ่น ปิดหน้าอก(ออกฤทธิ์ช้าเริ่มออกฤทธิ์ ประมาณ 30 นาที อยู่ได้นาน 8-14 ชม.มักติดไว้ที่หน้าอกตอนเช้าและเอาออกตอนเย็น ไม่ปิดไว้ตลอด เวลาเพราะจะทำให้เกิดภาวะดื้อยาได้)

อาการข้างเคียงที่สำคัญคือ ปวดศีรษะ และเวียนหน้า

- ยากลุ่ม Beta blockers ช่วยลดการบีบตัวของหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นช้าลง และลดความดันโลหิต

อาการข้างเคียงที่สำคัญคือ หลอดลมหดเกร็งตัว หัวใจเต้นช้า ในผู้ชายอาจเกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้(ประมาณ 10%) และไม่ใช้ ในรายที่มีปัญหาเกี่ยวกับเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงแขนขาเพราะอาจทำให้เป็นมากขึ้นได้

- ยากลุ่ม Calcium blockers ช่วยขยายเส้นเลือด ลดความดันโลหิต และลดการบีบตัวของหัวใจ

อาการข้างเคียงที่สำคัญคือ ร้อนวูบวาบบริเวณใบหน้า, เวียนหน้า, บวมบริเวณขา

นอกจากนี้ยังมียาที่มีประโยชน์ในโรคนี้ ได้แก่

- ยาลดไขมันในเลือด ในรายที่มีระดับไขมันในเลือดสูงร่วมด้วย

- ยากลุ่ม ACEI(=Angiotensin converting enzyme inhibitors)จะมีประโยชน์ในรายที่เป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือในราย กล้ามเนื้อหัวใจตายที่มีการบีบตัวของหัวใจลดลงน้อยกว่า 40%

2. รักษาโดยการสวนหัวใจทำบอลลูนขยายเส้นเลือด

- ไม่สามารถทำได้ทุกราย

- ทำได้เฉพาะในรายที่เส้นเลือดมีการตีบเฉพาะจุดอย่างชัดเจน และควรตีบมากกว่า 50% ขึ้นไป

- มักทำในรายที่มีเส้นเลือดหัวใจตีบ 1-2 เส้น(ถ้าตีบ 3 เส้นการผ่าตัดจะได้ผลดีกว่า)

- ไม่ควรทำในรายที่มีความเสี่ยงสูง เช่น กรณีเส้นเลือดตีบที่บริเวณโคนของเส้นเลือดแดงโคโรนารี่ด้านซ้าย

การใส่ขดลวดพร้อมกับการทำบอลลูน(Stenting) ในปัจจุบันมักใส่ stent ร่วมด้วย ในรายที่ต้องทำบอลลูน เพื่อลดอัตราการเกิดตีบซ้ำ ของเส้นเลือด หลังทำบอลลูน จากการศึกษาพบว่า

ถ้าทำบอลลูนโดยไม่ใส่ stent จะมีอัตราการตีบซ้ำของเส้นเลือด 30-40%

ถ้าทำบอลลูนพร้อมกับใส่ stentแบบธรรมดา จะมีอัตราการตีบซ้ำของเส้นเลือด 20-30%

ถ้าทำบอลลูนพร้อมกับใส่ stent แบบเคลือบยาต้านการตีบเส้นเลือด(drug eluting stent) จะมีอัตราการตีบซ้ำของเส้นเลือด

1 คำตอบ · +1 โหวต · 0 รายการโปรด · 55 อ่านแล้ว

ดีมากคำถามนี้พี่จะได้ระวัง

เพราะคนในครอบครัวมีประวัติ เราจะได้ ตายอย่างไร้โรค

+1 โหวต · 0 ตอบกลับ

คำตอบของคุณ

(ไม่บังคับ)

เพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีการตอบกลับ