พระราชทานอภัยโทษ ผู้ต้องขัง 35,000 คนทั่วประเทศ

ถ้าแบ่งเท่าๆกันก็เอาไปจังหวัดละ450กว่าคน

ไม่อยากคิดต่อละ เพลียแปปนึง

3 คำตอบ · +3 โหวต · 0 รายการโปรด · 44 อ่านแล้ว

ถ้าได้คนที่คิดกลับใจเป็นคนดีจริงก็ดีไป

คุ้มค่าที่จะได้คนดีคืนสังคม

แต่ถ้าตรงข้ามก็ เพลียด้วยคน

แต่โลกนี้ ความเมตตา สำคัญ และทรงคุณค่าเสมอ

+3 โหวต · 0 ตอบกลับ

อย่าคิดมาก ไปไย อยากเอื้อนเอ่ย

ของเคย ๆ มีให้เห็น เช่นทุกปี

ออกมาแล้ว กลับไปใหม่ ก็มากมี

เพราะฉะนี้ และฉะนั้น มันคือเกมส์

+1 โหวต · 0 ตอบกลับ

การพระราชทานอภัยโทษ มีหลักเกณฑ์อยู่มากมาย ไม่ใช่ว่านักโทษทุกคนจะได้รับพระราชทานอภัยโทษ

หลักเกณฑ์ เช่น ต้องเป็นคดีถึงที่สุดแล้ว เป็นการเปลี่ยนโทษหนักเป็นเบาและลดโทษ ให้ได้รับการปล่อยตัวหรือลดโทษแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพระรบรมราชวินิจฉัยของพระมหากษัตริย์ตามพระราชอำนาจที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ด้วยขั้นตอนของการขอพระราชทานอภัยโทษมีการกำหนดอย่างชัดเจน และหนึ่งในนั้น ระยะเวลาที่คงเหลือในการจำคุกก็ต้องนำมาพิจารณาโดยมีหลักเกณฑ์อย่างชัดเจน ทำให้การปล่อยตัวใช่ว่าจะปล่อยได้ง่ายดาย

บางรายที่มีโทษหนัก และเหลือระยะเวลาจำคุกในระยะยาว ก็อาจได้แค่ลดวันต้องโทษตจำคุกลง แต่ยังไม่ถึงเกณฑ์ที่จะปล่อยได้

ส่วนผู้ที่ได้รับการปล่อย คือ ผู้ที่เหลือระยะเวลาการต้องโทษจำคุกเพียงเล็กน้อยแล้ว เมื่อได้รับพระราชทานอภัยโทษอีกจำนวนหนึ่ง จึงอยู่ในเกณฑ์ที่ปล่อยตัวได้จ้ะ ถ้าเราอ่านแค่จำนวนผู้ต้องโทษได้รับการปล่อยตัวว่ามี ๓๕,๐๐๐ คน อาจทำให้เพลียใจ แต่ถ้าดูจากหลักเกณฑ์หรือรายละเอียดของผู้ที่ได้รับการปล่อยตัว จะรู้ว่า เป็นคนที่เหลือโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี เป็นคนป่วย คนพิการ อายุ ๖๐ ปีที่เหลือโทษจำคุกไม่เกิน ๓ ปี หรือผู้ที่มีอายุ ๗๐ ปีขึ้นไป ผู้หญิงอายุไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์(ซึ่งก็ยังไม่บรรลุนิติภาวะ) รวมถึงผู้ที่รับโทษมาแล้ว ๑ ใน ๒ ของโทษ

ลองอ่านตามนี้นะจ๊ะ

ผู้ที่จะได้รับการพระราชทานอภัยโทษในโอกาสนี้ มีสาระสำคัญและหลักเกณฑ์ ดังนี้

กลุ่มที่ 1 คือ ผู้ที่จะได้รับการพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัว ได้แก่ ผู้ต้องโทษกักขัง ผู้ต้องโทษปรับที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ ผู้ต้องโทษที่ได้รับการปล่อยตัวคุมประพฤติ และนักโทษเด็ดขาดที่มิได้กระทำผิดในคดีร้ายแรงที่เหลือกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี นักโทษเด็ดขาดชั้นเยี่ยมที่เหลือกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี นักโทษเด็ดขาดอายุ 70 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป หรืออายุตั้งแต่ 60 ปีบริบูรณ์แต่ไม่เกิน 70 ปี ที่เหลือกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี นักโทษเด็ดขาดเป็นคนพิการหรือทุพพลภาพ นักโทษเด็ดขาดเป็นคนเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง เป็นหญิงหรือผู้มีอายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ซึ่งต้องโทษจำคุกเป็นครั้งแรก และต้องได้รับโทษจำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่า 1ใน 2 ของโทษตามกำหนดโทษ โดยประมาณการผู้ได้รับการพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัว 38,000 คน

กลุ่มที่ 2 คือ นักโทษเด็ดขาดที่รับการลดวันต้องโทษ กลุ่มนี้จะถูกคุมขังในเรือนจำอยู่แล้ว แต่จะได้รับการลดวันต้องโทษ ตามหลักเกณฑ์ โดยมี 140,000 คน ได้รับการลดวันต้องโทษ และยังมีความผิดตามบัญชีแนบท้ายที่จะไม่ได้รับการปล่อยแต่ได้ลดวันต้องโทษ

กลุ่มที่ 3 เป็นนักโทษเด็ดขาดที่ไม่ได้รับการพระราชทานอภัยโทษ ได้แก่ นักโทษเด็ดขาดที่ต้องโทษในคดีความผิดตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ฐานผลิต นำเข้า หรือส่งออก หรือฐานผลิต นำเข้า หรือส่งออกเพื่อจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายที่มีกำหนดโทษตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกเกิน 8 ปีขึ้นไป

+1 โหวต · 0 ตอบกลับ

คำตอบของคุณ

(ไม่บังคับ)

เพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีการตอบกลับ

คำถามที่คุณอาจจะสนใจ

คำถามในป้ายกำกับ
ถามคำถาม