นิทานก่อนนอนเรื่อง “ไหว้ทำไม..งมงาย"...??????????.........

==========================================

นักศึกษาปริญญาโทคนหนึ่งเข้ามาถามหลวงพ่ออย่างไม่เข้าใจ

“ผมเห็นมีแต่คนกราบไหว้ท่าน ท่านยังเป็นมนุษย์อยู่ อย่างนี้ไม่เรียกว่างมงายหรอกหรือครับ?

กระผมไม่เคยกราบใคร กระผมกราบตัวเอง”

“โยมเคยตีแบตหรือตีปิงปองไหม?”

“เคยครับ แล้วมันเกี่ยวอะไรกับสิ่งที่ผมถามหลวงพ่อละครับ?”

เขาตอบและย้อนถามกลับไป

“แล้วโยมตีแบตทำไม? ลูกขนไก่นะ ต่อให้ไม่มีใครตีมัน มันจะเสียใจไหม?

คนตั้งเยอะตั้งแยะพากันรุมตีมัน เพราะต้องการให้มันเละใช่หรือเปล่า?”

หลวงพ่อถามกลับบ้าง

“ไม่ครับ ที่เราเล่นแบตก็เพราะต้องการฝึกฝนออกกำลังกายและความสนุกสนานครับ”

“หากไม่ใช้ลูกขนไก่ แต่เอาอย่างอื่นมาตีแทนได้ไหม?”

หลวงพ่อถามต่อ

“แล้วมันจะเรียกว่าตีแบตได้ยังไงละหลวงพ่อ เดี๋ยวคนที่เห็นก็หาว่าเราบ้านะสิครับ!”

“โยมตอบได้ดี! ลูกขนไก่เป็นเพียงอุปกรณ์ เป็นอุปกรณ์ที่นำมาซึ่งสุขภาพและความรื่นเริง

ในเมื่อร่างกายยังต้องฝึกฝน แล้วจิตญาณล่ะต้องฝึกฝนไหม?”

หลวงพ่อกลับเป็นฝ่ายถามไปเสียแล้ว

“ตอบตามเหตุผลก็สมควรครับ แต่ว่า เอ๊ะแล้วจิตญาณนี่เราจะฝึกฝนกันยังไงล่ะครับ?”

“คนเรา เมื่อเคารพศรัทธาในสิ่งใด ก็จะยกมือพนมก้มกราบไหว้อย่างหมดจิตหมดใจ

นั่นเป็นการแสดงออกซึ่งความอ่อนน้อม ความยอมรับ ความสำนึกผิด ความสำนึกคุณ

และขอความช่วยเหลือ ในขณะที่จิตเกิดความนอบน้อม กายก็แสดงออกถึงความอ่อนน้อม

เช่นนี้เรียกว่าสลายอัตตาตัวตน นี่คือการฝึกฝนจิต ที่ญาติโยมกราบไหว้อาตมา

ก็เพราะว่าอาตมาคือตัวแทนแห่งพระพุทธ อาตมาเป็นเพียงอุปกรณ์ซึ่งไม่ต่างอะไรกับลูกขนไก่ที่ให้ผู้คนตีไปตีมา

เพียงแต่ว่าอาตมามิใช่ลูกขนไก่จริงๆ อาตมาเป็นเพียงลูกขนไก่แห่งจิตญาณเท่านั้นเอง”

“อ่อ ขอรับ”

เขาเอ่ยขึ้นหลังจากหลวงพ่อหยุดมองเขาครู่หนึ่ง

“ส่วนที่คนเราต้องกราบไหว้บรรพชน ก็เพราะฝึกฝนบ่มเพาะจิตกตัญญูรู้คุณ

อิงจิตเคารพนบนอบสำนึกคุณต่อบรรพชนผู้เป็นต้นแห่งสายชีวิต

ส่วนที่ต้องไหว้พระแม่โพสพพระนางธรณีเจ้าที่ศาลพระภูมิ ก็เพราะสำนึกคุณเจ้าที่เจ้าทางที่คอยปกปักรักษา

ให้เราอยู่รอดปลอดภัย มีพืชพันธุ์ธัญญาหารอันสมบูรณ์หล่อเลี้ยงชีวิต ที่กราบไหว้แม่น้ำคงคา

ก็เพราะสำนึกบุญคุณและสำนึกขอขมาต่อเทพแห่งสายน้ำ ที่ช่วยหล่อเลี้ยงชุบชูชีวิตกายสังขาร

ร่างกายของคนเรา 70% ประกอบไปด้วยน้ำ ภูมิปัญญา

ของคนโบราณนั้นแยบยลนัก ทุกสิ่งอย่างล้วนมีปรัชญาแฝงอยู่ในยามที่กราบไหว้ด้วยความเคารพนั้น

คนกราบและคนที่ถูกกราบก็คือเนื้อแท้เดียวกัน ไม่มีเธอต่ำต้อย หรือฉันที่สูงศักดิ์ บางคนไม่เข้าใจปรัชญานี้

ก็ได้แต่วิพากษ์วิจารณ์ว่า คนพวกนี้มันบ้า! คุณไม่เข้าใจแต่ก็ไม่ยอมไต่ถาม

แถมเอาไปโพนทะนาเสียๆหายๆ คุณนั่นแหละที่เป็นคนบ้าเสียเอง!”

“โห! หลวงพ่อ ท่านนี่ช่างแยบยลนัก ขอให้รับการกราบจากผมสัก 3 กราบเถิด”

เขาคุกเขาก้มลงกราบหลวงพ่อด้วยความศรัทธาเลื่อมใส

“ยังไงละ เข้าใจในการฝึกฝนจิตแล้วหรือยัง?”

หลวงพ่อถามเมื่อเขากราบเสร็จ

“เข้าใจแล้วครับๆ”

“นี่แหละ ที่ใครๆเรียกอาตมาว่าพระอาจารย์ ก็เพราะอาตมาสอนสั่งและไขข้อข้องใจให้โยมได้

ไม่ว่าจะเป็นทางความคิดและการกระทำ”

ผู้มีความฉลาดอัดแน่นไปด้วยอัตตาคือความยึดมั่นถือมั่น เปรียบดั่งรวงข้าวที่กำลังเติบโตมีเมล็ดข้าวเต็มรวง

มันรู้สึกจองหองว่าตนเองอุดมสมบูรณ์ไปด้วยเมล็ดข้าว จึงเชิดรวงตั้งตรงชี้ขึ้นปลายฟ้า

ผู้มีปัญญาอัดแน่นไปด้วยกาลัญญุตาคือความรู้กาล เปรียบดั่งรวงข้าวที่กำลังสุกเต็มที่

มันรู้สำนึกคุณว่ามันเจริญเติบใหญ่ได้ก็เพราะฟ้า ดิน คน เป็นผู้ชุบเลี้ยงฟูมฟัก จึงน้อมรวงลงต่ำโค้งหัวให้

อันเป็นการแสดงถึงความเคารพนั่นเอง

คนเรา ไม่มีครูบาอาจารย์สอนสั่ง เราเอาความรู้มาจากไหน?

เรียนรู้จากธรรมชาติ ธรรมชาติคือครูของคุณ!

เสิร์ชหาเองจากกูเกิล กูเกิลนั่นแหละคือครูของคุณ!

ไม่มีใครที่ไม่มีครู เป็นศิษย์ จึงต้องบูชาครู

‪#‎นิทานก่อนนอน‬

(ติดตามนิทานได้ทุกคืนวันอาทิตย์)

4 คำตอบ · +5 โหวต · 0 รายการโปรด · 403 อ่านแล้ว

“นี่แหละ ที่ใครๆเรียกอาตมาว่าพระอาจารย์ ก็เพราะอาตมาสอนสั่งและไขข้อข้องใจให้โยมได้

ไม่ว่าจะเป็นทางความคิดและการกระทำ”

นี่คงเป็นความหมายที่แท้จริงคำว่า "อาจารย์" >> สั่งสอนและตอบปัญหาได้

ขอบคุณสำหรับนิทาน

ก่อนนอน สวดมนต์กราบพระด้วยความศรัทธา

ราตรีสวัสดิ์

+2 โหวต · 0 ตอบกลับ

รักเคารพ นบนอบ ในสิ่งไหน

จงเข้าใจ ในแก่นแท้ ของสิ่งนั้น

มีที่มา มากมาย ให้ค้นกัน

สารพัน ความถูกผิด คิดต่างมุม

หากเรียนรู้ ไม่ถ่องแท้ อาจแพ้ได้

ว่าอะไร คืออะไร ฉไนแน่

กลับไปค้น หาความจริง ล้วนผันแปร

ทุกสิ่งแย่ เพราะคนเรา มิเข้าใจ

( เฮ็ดในสิ่งที่เชื่อ และจงเชื่อในสิ่งที่เฮ็ดเด้อ.....พี่น้องเด้อ !!! )

+2 โหวต · 0 ตอบกลับ

อ่านจบแล้วคำตอบที่ดีมากครับ ขอบคุณมากครับ

+2 โหวต · 0 ตอบกลับ

ไหว้พระก่อนนอนทุกวันค่ะ ขอบคุณเรื่่่่องราวดีๆค่ะ

+2 โหวต · 0 ตอบกลับ

คำตอบของคุณ

(ไม่บังคับ)

เพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีการตอบกลับ

คำถามที่คุณอาจจะสนใจ

คำถามในป้ายกำกับ
ถามคำถาม