เยาวชนที่ทำความผิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าสมควรได้รับโอกาสจากคนในสังคมหรือไม่ ???

โดยเฉพาะถ้าไปก่อคดีอุฉกรรจ์ สะเทือนขวัญ

5 คำตอบ · +5 โหวต · 0 รายการโปรด · 30 อ่านแล้ว

การที่สมควรได้รับโอกาสจากสังคมหรือไม่.???

ขอบอกเลยนะครับว่า '' ตอบได้ยาก ''

เพราะว่า ความคิดของผู้คนในสังคม มีมุมมอง และทัศคติ ที่ต่างกันออกไป กับการให้โอกาสกับตัวเด็กและเยาวชน

แต่ที่แน่นอน ควรต้องกลับไปย้อนดูที่ว่า วิธีแก้ไข และบำบัดดูแลเด็กมีประสิทธิภาพ และดีมากแค่ไหน

ในขณะที่เด็กเหล่านี้ อยู่ในสถานพินิจ จากปัญหาคดีอุจกรรจ์ หรือ คดีอื่น ๆ

ซึ่งมีปัญหาแน่นอน คือ ปัญหาการขาดแคลนตัวเจ้าหน้าที่

ซึ่งมีเจ้าหน้าที่น้อยกว่า มีเจ้าหน้าที่ในจำนวนที่ไม่เหมาะสมกับจำนวนเด็ก

ทำให้การดูแล ตามกระบวนการฟื้นฟู ทำได้ไม่ทั่วถึง.........

ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า เด็กกลุ่มเสี่ยงที่จะกลับไปทำความผิดได้อีก เริ่มมีจำนวนมากขึ้น

แต่ในทางกลับกันกลับไม่มีการดูแลเด็กกลุ่มนี้เท่าที่ควร

ซึ่งผิดกับประเทศตะวันออกอย่าง "ญี่ปุ่น" ที่คิดโครงการบ้านทดแทนขึ้นมา

โดยสมมติบ้านหลังใหม่ให้กับเด็ก ๆ ที่กระทำผิด เป็นการนำเด็กไปอยู่กับครอบครัวของเจ้าหน้าที่รัฐ

ซึ่งเป็นสามีภรรยาและลูก เพื่อให้เด็กเรียนรู้อย่างถูกแบบแผน และรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในสมาชิกของครอบครัว

เรียนรู้กับกรอบการใช้ชีวิตอย่างที่ควรจะเป็น '' ไม่ใช่เป็นการถูกทอดทิ้ง ''

และที่แน่นอน สำหรับสมัยนี้ คือ คงไม่ใช่เวลามากล่าวโทษ หรือฟื้นฝอยหาตะเข็บกันอีกแล้ว

แต่สิ่งที่ควรทำคือ หันหน้าเข้ามาช่วยกัน เริ่มง่าย ๆ จากความรักความเข้าใจในสถาบันครอบครัว

รวมไปถึงความจริงใจ และความจริงจังของผู้ใหญ่ในสังคม

หากปล่อยให้ปัญหาเรื้อรังต่อไป เด็กและเยาวชนไทยอาจกลายไปเป็นผู้กระทำผิดต่อเนื่อง

และอาจสร้างปัญหาที่ไม่คาดคิดตามมาอย่างไม่มีที่สิ้นสุดก็เป็นได้

เด็กและเยาวชนเป็นทรัพยากรที่จะเติบโตไปเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต

หากเด็กและเยาวชนได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง ได้รับการส่งเสริมให้มีความประพฤติดี มีคุณธรรมและปลูกฝังให้มีจิตสำนึกที่ดี

ก็ย่อมเป็นผลดีแก่สังคมและประเทศชาติ

การบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวกับเด็ก

และเยาวชนนั้นเป็นกลไกสำคัญในการแก้ไขปัญหาเพื่อให้เด็กและเยาวชนมีโอกาสกลับตัวเป็นคนดี

และป้องกันไม่ให้เด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นอนาคตของชาติกระทำความผิดซ้ำอีก.........

+2 โหวต · 2 ตอบกลับ

น่าจะมีโจทย์ตุ๊กตานะ แต่เป็นเยาวชนก็คืออายุไม่เกิน25 ปีซึ่งถ้าจะพูดไปก็ยังไม่มาก ปสก. ชีวิตก็ยังไม่เยอะ และอาจมีเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกมาเกี่ยวข้องด้วยมาก ก็น่าเห็นใจ แต่ก็อย่างว่าแหละต้องมีตย.คดีประกอบด้วย พูดรวมๆไปก็ไม่ได้

+3 โหวต · 1 ตอบกลับ

หมายถึงคดีนี้หน่ะ...อิอิ

+0 โหวต

เป็นโจทย์ที่ส่วนของผู้ทำงานด้านเยาวชนต้องกลับไปย้อนคิดนะว่า วิธีการแก้ไขเยาวชนที่ผ่านมา มีประสิทธิภาพมากแค่ไหน การแก้ปัญหาแก้ได้ตรงจุดของปัญหาจริงๆ แล้วหรือเปล่า หรือหลงทางมาโดยตลอด อีกอย่าง เยาวชนที่ทำผิดซ้ำแล้วซ้ำซาก โดยเฉพาะคดีอุกฉกรรจ์นั้น ล้วนเป็นคดีสะเทือนขวัญซ้ำซาก หรือเป็นแค่มีคดีเล็กน้อยมาก่อน จากนั้นก็คิดหาจุดอ่อนของการทำงานที่ผ่านมา ว่าผิดพลาดที่จุดไหน จึงทำให้เยาวชนพัฒนาจากคดีเล็กน้อย ไปสู่คดีใหญ่ๆ เพิ่มขึ้น

ควรมีการศึกษาเชิงลึก เป็นกรณีศึกษาด้วย เพื่อนำแนวทางที่คิดค้น จากทฤษฎีต่างๆ มาใช้ให้เกิดการแก้ปัญหาได้อย่างจริงจัง

รับตรงๆ ว่าเห็นข่าวแล้วสะท้อนใจ เหมือนชีวิตคนๆ หนึ่งกำลัง ดิ่งลงๆ โดยที่ผู้ทำงานด้านนี้ควรมีส่วนในการหาทางแก้ให้ได้ เพื่อพิสูจน์ฝีมือตัวเอง หรืออย่างน้อยก็มีทางในการป้องกันให้มากกว่านี้

+2 โหวต · 0 ตอบกลับ

ผิดซ้ำแล้วซ้ำ ไม่ควรครับ

มีครั้งที่ 1 และ 2 ก็มี 3 ต่ออีก

+2 โหวต · 0 ตอบกลับ

สันดานหยาบ คาบเกี่ยว อาจเสียวหลุด

ให้ใจหยุด ฉุดความหยาบ ดาบสองคม

หากคิดได้ ก็ดีไป ให้ชื่นชม

หากโคลนตม จมดิ่งลึก ควรตรึกดู

เยาวชน มันคิดได้ ขนาดนี้

ความปราณี มีอภัย ให้เชิดชู

หรือต้องฆ่า ตกตามไป ให้โลกรู้

ลองตรองดู คู่คดี ที่มันทำ

+1 โหวต · 0 ตอบกลับ

คำตอบของคุณ

(ไม่บังคับ)

เพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีการตอบกลับ

คำถามในป้ายกำกับ
ถามคำถาม