คำถามไม่ระบุตัวตน
ถามคำถาม
ยังไม่มีชื่อเล่น

ถ้ามีการปรับระบบขนส่งมวลชน ให้คิดค่าบริการตามน้ำหนักตัว จะนับเป็นการสร้างความเท่าเทียมในสังคมมั้ย ?

4 คำตอบ · +0 โหวต · 0 รายการโปรด · 9 อ่านแล้ว
คำตอบที่ 1

ผมลองสะกิดให้คิดนะครับ รถเมย์เนี่ย คนที่นั่งกับคนที่ยืน จ่ายตังเท่ากัน ทำไมบางคนได้สิทธิ์ที่สบายกว่า ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ ผมเข้าใจนะ แต่อย่างอื่นหล่ะ

+0 โหวต · 0 ตอบกลับ
คำตอบที่ 2

ต้องคิดค่าสัมภาระ​ด้วยมั้ย

+0 โหวต · 0 ตอบกลับ
คำตอบที่ 3

ต่อให้เท่าเทียมในทางหลักการ แต่เป็นธรรมมั้ยไม่ชัวร์นะครับ

ผมว่าข้อเสียมากกว่าข้อดีเยอะ

ถ้าเก็บคนที่ไม่ดูแลสุขภาพ เป็นแรงกระตุ้นให้เขารักษาสุขภาวะ ลดค่าใช้จ่ายในระบบการแพทย์ อันนี้พอเข้าใจได้

แต่เอาจริงการวัดสุขภาพไม่ได้มีแต่อ้วนผอม

ความอ้วนความผอมของคนไม่ได้ขึ้นกับพฤติกรรมที่เลือกได้ทั้งหมดด้วยซ้ำ

คนที่อ้วน หลายคนไม่ได้อ้วนเพราะไม่ใส่ใจสุขภาพ แต่อ้วนเพราะมีพันธุกรรมที่สะสมไขมันหรือน้ำหนัก หรืออาการบางอย่างที่ทำให้เขาผอมไม่ได้

เหมือนคนเตี้ยสูงยาก คนผมทองผมดำเองไม่ได้ หรือสีผิวครับ

คนบางคนกินเลอะเทอะยังไงก็ยังผอม แต่บางคนพยายามให้ตายยังไงก็ยังอวบ

ถ้าเราจะลงโทษคนในสิ่งที่เขาเลือกไม่ได้ ยิ่งเป็นการขยายความไม่เท่าเทียมให้ห่างออกอีกด้วยซ้ำนะครับบางที

เหมือนนโยบายที่เอื้อคนรวย (pro-rich)

หรือเพิ่มภาระให้คนจน (anti-poor)

ถือว่าลดความเท่าเทียมและความเป็นธรรมลงครับ

+0 โหวต · 0 ตอบกลับ
คำตอบที่ 4

เห้อ มันจะช้ากว่าเดิม นับรายหัวกับระยะทางน่าจะไวกว่า ไม่งั้นก็แยกราคาคนแบบ 200 kg. อีกราคา หรือตีราคาเป็น2 คน มั่นใจเลยว่าคนทีาหนัก 200 kg. นั่งที่นั่ง แบบปกติไม่ได้ ถ้านั่งรถตู้ น่าจะต้อง 2 เบาะ รถเมล์อีก เครื่องชั้นราคาประหยัดด้วย

+0 โหวต · 0 ตอบกลับ

คำตอบของคุณ

(ไม่บังคับ)

เพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีการตอบกลับ

คำถามที่เกี่ยวข้อง