กลับไปยังคำถาม หวังลดเหตุทะเลาะ อาชีวะไม่รับผู้ที่มีรอยสัก ระเบิดหู เริ่มปี59
ถามคำถาม

ในคำตอบ

ความจริง ... ไม่ใช่ทั้งหมดที่การมีรอยสัก ระเบิดหูแล้วต้องตีกัน

แต่ความจริงอีกส่วนหนึ่ง ...เด็กที่ตีกัน ก็มีรอยสัก

และ/หรือระเบิดหูเกือบร้อยเปอร์เซนต์

เรื่องแบบนี้ละเอียดอ่อน เพราะกระทบต่อสิทธิมนุษยชน

เพราะการสัก ระเบิดหู เป็นความชอบส่วนบุคคล

ไม่ทำให้ผู้ใดเดือดร้อน หรือละเมิดสิทธิของผู้อื่น เลยแม้แต่น้อย

แต่การห้ามต่างหาก ที่กำลังก้าวล่วงไปใกล้ คำว่า "ละเมิด"

แต่ถ้ามองอีกแง่ ... สถานศึกษาก็มีสิทธิเลือกสรร สิ่งที่ตนเองต้องการที่สุด

เช่นเดียวกับการเข้ารับราชการ ก็ต้องไม่มีรอยสัก ส่วนจะเข้าแล้วไปสักก็ห้ามไม่ได้

เพียงแต่ผู้สักต้องรู้ตัวว่า ควรสักบริเวณไหน .. ควรประพฤติตนเช่นไร

ให้สมกับการเป็นข้าราชการที่ดี เป็นตัวอย่างให้บุคคลอื่น

เพราะ หนึ่งในจรรยาบรรณของข้าราชการ คือ การวางตนให้เหมาะสม

ไม่ให้เสียชื่อเสียงของทางราชการ

นักเรียน นักศึกษาก็เช่นกัน ควรรู้ตัวด้วยว่าสมควรประพฤติ ปฏิบัติตนเช่นไร

เพื่อให้เป็นนักศึกษาที่สมภาคภูมิ ไม่สร้างความเสียชื่อเสียงให้สถาบัน

ไม่เป็นผู้นำพาเรื่องราวเสียหายให้สถาบันของตนเอง

ส่วนหนึ่งที่นักศึกษายกพวกตีกัน หรือเป็นอริระหว่างสถาบัน

คือ การรักสถาบัน รักพวกพ้อง ในทางที่ผิด

รับมรดกที่เรียกว่า "มรดกเลือด" .... "มรดกมาร" จากรุ่นพี่

ลูกพระวิษณุกรรม ไยต้องฆ่ากันเอง ทำร้ายกันเอง

สิ่งนี้ต่างหากที่ควรมาคิดว่า....

จะทำเช่นไร ให้ลูกพระวิษณุกรรม ทุกแขนง

รู้สึกภาคภูมิที่มีได้เกิดมาเป็น ... "ลูกของพ่อองค์เดียวกัน"

และเราคิดว่าคนนอกอย่างเรา ตอบไม่ได้

จึงต้องให้ลูกพระวิษณุกรรมที่แท้จริงมาร่วมด้วยช่วยกัน

วิเคราะห์ หาทางออกร่วมกัน ในฐานะลูกของพ่อองค์เดียวกัน

+0 โหวต · 0 ตอบกลับ

คำตอบนี้ยังไม่มีการตอบกลับ

ความคิดเห็นของคุณ

(ไม่บังคับ)

เพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีการตอบกลับ