ทำไมภูเขาน้ำแข็งจึงปรากฏบนน้ำแค่ 1 ใน 10 เท่านั้น

ภูเขาน้ำแข็ง เป็นก้อนน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่หลุดออกมาจากธารน้ำแข็งหรือพื้นน้ำแข็งซึ่งลอยอย่างอิสระอยู่ในทะเล

เพราะว่าความหนาแน่นของน้ำแข็งบริสุทธิ์นั้นประมาณ 920 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และความหนาแน่นของน้ำทะเลนั้น 1025 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จึงทำให้ภูเขาน้ำแข็งโผล่เหนือผิวน้ำเพียงแค่ 10% จากทั้งหมด

ภูเขาน้ำแข็งโดยทั่วไปจะมีขนาดอยู่ช่วง 1-75 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลและน้ำหนัก 100,000 ถึง 200,000 เมตริกตัน และภูเขาน้ำแข็งที่รู้จักกันที่ใหญ่ที่สุด อยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือซึ่งมีขนาดประมาณ 168 เมตร

ข้างล่างเป็นรูปของภูเขาน้ำแข็งที่ถ่ายภาพในช่วงที่อังกฤษเดินทางมายังแอนตาร์กติกใน 1911–1913

ภูเขาน้ำแข็งมักจะใช้เปรียบเทียบกับความสำเร็จ ซึ่งหมายถึงส่วนที่โผล่เหนือน้ำนั้นเป็นความสำเร็จที่ทุกคนเห็น แต่ส่วนที่อยู่ใต้น้ำนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในการที่จะได้ความสำเร็จนั้นมา

4 คำตอบ · +4 โหวต · 1 รายการโปรด · 3,404 อ่านแล้ว

เรานึกว่าภูเขาน้ำแข็งมีพื้นติดกับก้นมหาสมุทรซะอีก ... ว๊าว ...

+3 โหวต · 2 ตอบกลับ

ไม่ได้ติดกับก้นของมหาสมุทรครับ มันลอยอยู่ 😄

+1 โหวต

จ้ะ เพิ่งรู้จากที่คุณโพสเลย ... อายจัง

แต่พื้นที่กว้่าง ลึก ทำให้มีน้ำหนักมาก จึงไม่ลอยเคลื่อนย้ายไปไหน

ทำให้คิดว่าติดกับแผ่นดินมาโดยตลอดเลย

แล้วก็คิดว่าภายในเป็นภูเขา ที่ถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็งหนามากๆ

+0 โหวต

มันหนัก แบบนี้สิเบา

และอร่อยด้วย

+1 โหวต · 0 ตอบกลับ

นั่นสินะ

+0 โหวต · 0 ตอบกลับ

ให้เขาประมาทเราไว้แหล่ะดี หุหุหุ

+0 โหวต · 0 ตอบกลับ

คำตอบของคุณ

(ไม่บังคับ)

เพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีการตอบกลับ