คำถามที่ถูกเก็บไว้
ถามคำถาม

ใครมีประสบการณ์เป็นเจ้าภาพทอดกฐิน ทอดผ้าป่าบ้างคะ? ต้องลงทุนไหม?

ไม่ทราบว่าสองคำนี้ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร เราต้องลงทุนอะไรบ้าง ทำอย่างไรบ้าง ส่วนมากแล้วหมดงบกันประมาณเท่าไหร่คะ?

2 คำตอบ · +1 โหวต · 0 รายการโปรด · 1,752 อ่านแล้ว

เดิมๆ ผ้าป่าชื่อก็บ่งบอกในตัวเอง ชาวพุทธจะนำผ้าเหลืองใหม่ๆไปวางตามประตูป่า เพื่อให้สงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าที่เป็นพระป่า เดินออกมาหยิบเอาไปครองแทนผ้าเหลืองเดิมที่อาจจะเก่าจนขาดวิ่นใช้ไม่ได้อีกแล้ว หากไม่มีชาวพุทธเอามาวางตามที่ว่ามา ท่านก็จะไปหาผ้าตราสังศพตามป่าช้า เชิงตะกอน เอามาต้มย้อมฝาด เพื่อนำมาใช้

ดังนั้นผ้าป่า กับกฐิน เป็นสังฆทานทำด้วยจิตศรัทธาเลื่อมใส อย่าคิดเป็นเรื่องลงทุน

ก่อนปลายปี ตัวเองนิยมเตรียมผ้าครองของสงฆ์ให้ครบ พร้อมอัฐบริขาร ตามกำลัง แล้วสำรวจหาวัดเล็กๆ หรือวัดป่า สำนักสงฆ์วิปัสสนา แล้วเดินทางไปถวายท่าน

+1 โหวต · 3 ตอบกลับ

เปลาค่ะ ไม่ได้คิดว่าเป็นเรืองลงทุน ความหมายคือ เผือถ้าทำ จะได้มีการเตรียมเงินให้พร้อม ไม่ขาดอะไรแบบนี้ค่ะ ความหมายว่า ถ้าวันใดวันหนึ่งคิดจะทำ เราจะได้ดูกำลังทรัพย์ของตนเองอะไรแบบนี้ค่ะ อย่าไปคิดด้านธุรกิจแบบนั้นมันไม่ใช่

เราหมายถึงกระบวนการการทำ ต้องไปขออนุญาติใครบ้าง บอกกล่าวยังไงบ้าง อะไรแบบนี้ด้วยค่ะ

+0 โหวต

ขอบคุณที่อนุโมทนาสาธุบุญตอบให้นะคะ ขอให้ผลบุญจงเกิดแก่ท่านค่ะ สาธุ

+0 โหวต

ถ้าจะต้องขออนุญาติ ก็น่าจะเป็นสมภาร เจ้าอาวาส พระครูใบฎีกา แนวนี้กระมังขอรับ คุณผู้หญิง

+1 โหวต

ต่างกันคือ เขียนไม่เหมือนกัน ( ล้อเล่นครับ )

ตอบจริงๆคือ......

กฐิน,ผ้้าป่า เป็นช่องทางในการทำบุญของญาติโยมด้วยผ้าจีวรเช่นเดียวกัน ส่วนที่ต่างกันมีดังนี้

กฐิน = เป็นการทำบุญที่เนื่องด้วยกาล คือมีเวลาเฉพาะ(เพียงแค่ช่วงหลังออกพรรษาเท่านั้น) พระพุทธองค์ ตรัสว่าเนื่องด้วยมีเวลาเฉพาะอานิสงค์จึงมากกว่าช่วงเวลาปกติ

ผ้้าป่า = เป็นการประยุกต์ของ พระและผู้ที่ถวาย จุดเริ่มต้นเริ่มจากการที่พระพุทธองค์ตรัสสอน นุ่งห่มผ้าบังสกุล คือ การนุ่งห่มผ้าที่หาเจ้าของมิได้ เช่นผ้าตามกองขยะที่ชาวบ้านทิ้ง หรือ ผ้าห่อศพ ภิกษุในสมัยพุทธกาลจะเก็บมาย้อมเย็บเป็น จีวร สบง ไว้นุ่งห่ม

อีกทั้ง ทรงให้พระปฏิบัติในธุดงควัตร 13 ข้อ (ข้อปฏิบัติเพื่อเผากิเลส) 1ใน 13 ข้อนั้นมีข้อนึงเรื่องใช้จีวรที่คลุกฝุ่นฯ เป็นวัตร

แต่ในปัจจุบันที่ เราเห็นเป็นต้นมะขามพร้อมถัง และมีชะนีห้อย นั้นแสดงอนุโลมของผู้ถวายให้เห็นว่า เป็นผ้าที่เขาทิ้งแล้วอยู่บนต้นไม้(ถังมะขาม) จะสังเกตุได้ว่า ผ้าป่านั้น พระท่านไม่ต้องรับประเคน เพียงแต่ท่านเข้าไปรับและพิจารณาบังสุกุลได้โดยไม่ต้องมีผู้ถวาย ทั้งนี้ไม่รวมในส่วนของบริวารผ้าป่า(ส่วนควบ)

บริวารผ้าป่า(ส่วนควบ) - ในยุคปัจจุบันส่วนมากเป็นเงิน โดยขึ้นอยู่กับผู้รับนั้นจะพิจารณารับหรือไม่เป็นส่วนตัว แต่หากจะพิจารณาจากศีลภิกษุแล้ว ท่านรับไม่ได้เป็นการผิดวินัย

ส่วนเรื่องของประสบการณ์นั้น คือ จะเป็นเจ้าภาพร่วมมากกว่า สำหรับทอดกฐิน และผ้าป่า

ส่วนงบประมาณและลงทุนอะไรนั้น ผมคงตอบได้เลยว่า จำไม่ได้แล้วจริงๆ

เพราะเคยเป็นเจ้าภาพร่วมนานมากแล้ว เมื่อหลายๆปีก่อน....

+2 โหวต · 2 ตอบกลับ

เ่ก่งจริงเล้ยคนนี้ อิอิ

+1 โหวต

แหม อย่าชมมาก เดี่ยวลอย

+1 โหวต

คำตอบของคุณ

(ไม่บังคับ)

เพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีการตอบกลับ

ดูคำถามที่เกี่ยวกับ สังคมและวัฒนธรรม
ถามคำถาม