คำถามที่ถูกเก็บไว้
ถามคำถาม

การอ่านขยายความใช้ในกรณีใดบ้าง?

1 คำตอบ · +2 โหวต · 1 รายการโปรด · 8,144 อ่านแล้ว

การอ่านขยายความเป็นการขยายความคิดโดยใช้จินตนาการให้กว้างขวางลึกซึ้งจากข้อเท็จจริงที่มีอยู่ จนสามารถคาคะเน

พยากรณ์หรือประเมินเป็นข้อสรุปได้ การอ่านเพื่อขยายความจึงเป็นการอ่านเพื่อนำมาอธิบายเพิ่มเติมให้มีความละเอียดเพิ่มมากขึ้นจากเนื้อความเดิมที่มีอยู่ ทั้งนี้การอ่านเพื่อขยายความสามารถใช้วิธีการยกตัวอย่างประกอบหรือมีการอ้างอิงเปรียบเทียบเพื่อให้ได้เนื้อความที่กว้างขวางออกไปจนเป็นที่เข้าใจยิ่งขึ้น การอ่านขยายความสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

๑. การกล่าวถึงสาเหตุและผลที่สัมพันธ์กัน

๒. การยกตัวอย่างหรือข้อเท็จจริงมาประกอบเนื้อเรื่องเดิม

๓. การอธิบายสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นเพิ่มเติม

๔. การคาดคะเนสิ่งที่น่าจะเป็นหรือสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปโดยอาศัยข้อมูลเหตุผลจากเรื่องเดิมเป็นพื้นฐานการคิดคาดคะเน

๕. การขยายความโดยการให้คำนิยามหรือให้คำจำกัดความซึ่งเป็นการให้ความหมายของประเด็นสำาคัญนั้นๆ

๖. การขยายความโดยการเปรียบเทียบอาจเป็นการเปรียบเทียบความเหมือนหรือความต่างก็ได้ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ชัดเจนขึ้น

ทั้งนี้การอ่านขยายความมีหลักการพิจารณาในด้านต่างๆดังนี้

๑. ต้องมีความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน

๒. พิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับความคิดหลักในเรื่องนั้นๆ ข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นในเนื้อเรื่อง โดยพิจารณาว่าเนื้อความตอนใดเป็นข้อเท็จจริง ตอนใดเป็นข้อคิดเห็น ความรู้สึกหรืออารมณ์ของผู้เขียน ผู้เขียนเจตนาอย่างไรในการเขียนและการมุ่งหวังให้ผู้อ่านตอบสนองอย่างไร

๓. การเกิดความคิดแทรกและความคิดเสริมความคิดแทรกเป็นความคิดที่เกิดขึ้นในขณะที่อ่านส่วนความคิดเสริมเป็นความคิดที่เกิดขึ้นหลังจากที่อ่านเรื่องจบแล้ว

.

.

ที่มา http://academic.obec.go.th/textbook/uploads/example/1002417.pdf

+5 โหวต · 0 ตอบกลับ

คำตอบของคุณ

(ไม่บังคับ)

เพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีการตอบกลับ

คำถามที่คุณอาจจะสนใจ

คำถามในป้ายกำกับ
ถามคำถาม