คำถาม
ถามคำถาม

รู้ใหม่ว่า วันนี้

รู้ใหมว่าวันนี้

คนจำนวนไม่น้อยเข้าใจผิดว่า ฤดูกาลเกิดจากการโคจรเป็นวงรีของโลกรอบดวงอาทิตย์ ทำให้ระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์เปลี่ยนไปเป็นวงรอบทุกๆ หนึ่งปี แต่เหตุผลนี้ไม่ถูกต้อง เพราะไม่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมช่วงเดือนมกราคมเป็นฤดูหนาวสำหรับประเทศไทย แต่เป็นฤดูร้อนที่ประเทศออสเตรเลีย และในความเป็นจริง โลกอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในช่วงประมาณวันที่ 3 มกราคมของทุกปี!

เหตุผลที่ถูกต้องของการเกิดฤดูกาลคือการที่แกนหมุนของโลกเอียงทำมุม 23.5º กับเส้นตั้งฉากของระนาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์

วันสำคัญทั้งสี่ในดาราศาสตร์

วันสำคัญดังกล่าวคือวันที่โลกโคจร เข้าไปยังตำแหน่งสำคัญในวงโคจรรบดวงอาทิตย์ ซึ่งมีผลกับเวลาการขึ้นตกของดวงอาทิตย์และ ช่วงเวลากลางวันและกลางคืน วันทั้งสี่แบ่งเป็นสองกลุ่มแรกคือวันที่โลกโคจรไปอยู่ที่จุดที่วงโคจรของโลกตัดกับเส้นสุริยะวิถี เรียกว่าว่าวันวิษุวัต (Equinox) โดยในวันดังกล่าวช่วงเวลากลางวันและกลางคืนจะมีเวลาเท่ากันในหนึ่งปีจะมีวันดังกล่าวสองวัน คือ วันวสันตวิษุวัต(Vernal Equinox) และ วันศารทวิษุวัต(Autumanl Equinox) ส่วนอีกกลุ่มคือ วันอายัน(Solstice) คือวันที่โลกโคจรมาอยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางระหว่างจุดวสันตวิษุวัตและศารทวิษุวัต โดยในวันอายันจะมีสองวันในรอบหนึ่งปีเช่นเดียวกัน คือวันครีษมายัน (Summer Solstice)ซึ่งเวลากลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี และวันเหมายัน(Winter Solstice) กลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี โดยวันทั้งสี่ ในปี 2557 ตรงกับวันที่

20 มีนาคม วันวสันตวิษุวัต

21 มิถุนายน วันครีษมายัน

23 กันยายน วันศารทวิษุวัต

22 ธันวาคม วันเหมายัน

4 คำตอบ · +3 โหวต · 0 รายการโปรด · 48 อ่านแล้ว

ขอบคุณสำหรับความรู้ที่นำมาแบ่งปันกันครับ

+1 โหวต · 0 ตอบกลับ

เป็นข้อมูลที่เพิ่งรู้เลยค่ะ ดีจัง

ขอบคุณค่ะ

ไว้จะไปอ่านเพิ่มที่นี่

http://www.sc.mahidol.ac.th/usr/?p=400

+1 โหวต · 0 ตอบกลับ

ขอบคุณข้อมูลค่ะ

+0 โหวต · 0 ตอบกลับ

น่าสนใจมากๆค่ะ

+0 โหวต · 0 ตอบกลับ

คำตอบของคุณ

(ไม่บังคับ)

เพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีการตอบกลับ