คำถาม
ถามคำถาม

พวกเรายังดีที่เกิดเมืองไทย จงภูมิใจในสิ่งที่มี

น่าสงสารพวกเขาที่ไม่มีแม้แต่แผ่นดินจะอาศัย

5 คำตอบ · +3 โหวต · 0 รายการโปรด · 12 อ่านแล้ว

โชคดีแล้วล่ะครับ ที่เกิดมาเป็นเอกราช มีแผ่นดินอยู่เป็นของตนเอง

แต่ดีที่สุด........ก็ควรจะทำความดีให้แก่ประเทศชาติกันบ้าง ให้สมกับที่เกิดมาบนผื่นแผ่นดินนี้

ไม่ใช่จะทำแต่เรื่องไม่ดี ทำแต่เรื่องขายหน้าให้กับประเทศชาติตนเอง อย่างที่เห็นกันทุกวันนี้

+2 โหวต · 0 ตอบกลับ

ไม่เคยเกลียดประเทศตัวเอง หรือคนในประเทศ

แต่เกลียดคนทั้งโลก 555

ไม่อยากพูดกรณีโลฮิงญา

พวกโลกเบี้ยวเยอะ

เดะเจอคนหยายคายแบบเราจะดราม่ากัน

คิดดี จบ

+2 โหวต · 0 ตอบกลับ

บรรพบุรุษ ของคนไทย ให้แผ่นดิน

อย่าให้สิ้น ความเป็นไทย ในชาตินี้

ช่วยกันรัก ช่วยดูแล แต่เรื่องดี

อย่าให้มี แต่เรื่องแย่ แก้วุ่นวายยยยยย

+2 โหวต · 0 ตอบกลับ

จงภูมิใจเถิดที่เกิดเป็นไทย มิเป็นทาสใคร และมีน้ำใจล้นปรี่ (จริงหรือ)

+1 โหวต · 0 ตอบกลับ

จริงตามที่ว่ามาครับ.

หากไม่ว่ากัน....แชร์. & แบ่งปัน. >

อัพเดท จากข่าวล่าสุด เกี่ยวกับผู้อพยพชาวโรฮิงญา. >

1. ชาวโรฮิงญาที่ลักลอบเข้าเมืองไม่ใช่เชื้อชาติโรฮิงญาทั้งหมดแต่มีชาวบังกลาเทศครึ่งต่อครึ่ง

2. ชาวโรฮิงญาที่หลบหนีเข้าเมืองไม่ได้มาจากรัฐยะไข่ของเมียนมาร์ทั้งหมด แต่ที่มาจากรัฐยะไข่เป็นเพียงส่วนน้อย เพราะส่วนใหญ่ตรวจสอบแล้วมาจากคอกซ์บาซา ชายแดนบังกลาเทศกับเมียนมาร์ (รัฐยะไข่) แม้แต่ชาวโรฮิงญาจากยะไข่ ก็ไปเริ่มต้นลงเรือที่คอกซ์บาซาเพราะมีขบวนการนำพารับจ้างพาลงเรือออกมา

3. ชาวโรฮิงญาที่ลักลอบเข้าไทยไม่ใช่เหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ แต่สมัครใจเดินทางมาเพื่อต้องการเข้าไปทำงานที่มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย หรือประเทศที่สามเพื่อหางานทำ

4. เมื่อชาวโรฮิงญาหรือบังคลาเทศเดินทางมาด้วยความสมัครใจด้วยการลงขันออกเงินค่าเดินทางกันมาเอง จึงไม่ใช่ค้ามนุษย์ แต่เป็นการลักลอบเข้าเมือง เครือข่ายที่ช่วยเหลือก็เป็นพวกขบวนการนำพาคนเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายไม่ใช่ขบวนการค้ามนุษย์

5. การจัดตั้งค่ายผู้อพยพในไทยจึงไม่จำเป็นและไม่ใช่แนวทางแก้ไขปัญหา

6. มีค่ายใหญ่มากที่สามารถรองรับชาวโรฮิงญาได้อยู่แล้ว โดยมี 2 ค่ายอยู่ที่คอกซ์บาซา จุคนได้ร่วม 300,000 คน แต่ตอนนี้ในค่ายมีชาวโรฮิงญาอยู่แค่ราวๆ 20,000 คนเท่านั้น ฉะนั้นไทยสามารถส่งคนเหล่านี้กลับไปพำนักในค่ายดังกล่าวได้

7. สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์) ปล่อยปละละเลยให้ชาวโรฮิงญาที่อยู่ในค่ายที่คอกซ์บาซาหลบหนีออกมา จึงต้องมีส่วนรับผิดชอบกับปัญหาด้วย เพราะค่ายดังกล่าวอยู่ในความดูแลของยูเอ็นเอชซีอาร์

8. หลักการจัดการกับปัญหานี้ที่ถูกต้อง คือการส่งกลับไปที่ต้นทางซึ่งก็คือค่ายที่คอกซ์บาซา โดยประเด็นนี้จะถูกหยิบยกขึ้นหารือในที่ประชุมวันที่ 29 พ.ค. 58 ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมร่วมกับนานาชาติ

@ > News Online, 5/20/2015

+1 โหวต · 0 ตอบกลับ

คำตอบของคุณ

(ไม่บังคับ)

เพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีการตอบกลับ

ดูคำถามที่เกี่ยวกับ สังคมศาสตร์
ถามคำถาม