คำถาม
ถามคำถาม

ใครรู้จักเพลงนี้บ้าง

เพลง เทียนเล่มสุดท้าย

7 คำตอบ · +2 โหวต · 0 รายการโปรด · 3 อ่านแล้ว

เพิ่งเคยฟังค่ะ

+2 โหวต · 0 ตอบกลับ

ผมไม่เคยรู้จักมาก่อนเลย ขอบคุณที่เอามาให้ฟังกันครับ

+2 โหวต · 2 ตอบกลับ

อ้าวพี่พัน เนียนหรือป่าว น่าจะวัยเดียวกันนะค่ะ

+1 โหวต

วัยเดียวกันหรือเปล่าไม่รู้ รู้แต่ว่า พี่ไม่เคยรู้จักเพลงนั้นมาก่อนเลยจริงๆครับ น้องเรน ๕๕๕ รู้จักแต่ พิงค์แพนเตอร์ ฟรีเบิร์ด ภูสมิง สาว สาว สาว คีรีบูน ฯลฯ อิอิ

+0 โหวต

สมัยที่ผมเพิ่งจะเป็นวัยรุ่น ตอนนั้นเขาฮิตเพลงแบบนี้กัน เอามาแลกเปลี่ยนกันฟังเพลงคนกรุงครับ อิอิ

+1 โหวต · 0 ตอบกลับ

ผมไม่เคยได้ยิน+ไม่เคยฟังมาก่อน.

ขอบคุณสําหรับข้อมูลครับ.

+0 โหวต · 0 ตอบกลับ

ครูซันของเด็กๆชาวป่าชาวเขา

ชื่อจริง นายสมพงศ์ หมื่นจิตต์

ตำแหน่ง อาจารย์ 2 ระดับ 7 กินตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ รร. บ้านไม้กะพง อ. อุ้มผาง จ. ตาก

เสียชีวิต 18 มิถุนายน 2544 ณ โรงพยาบาลตากสินมหาราช จ. ตาก

ครูซัน เกิด 20 ธันวาคม พศ. 2502 ณ ตำบลหนองบัวเหนือ อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก บิดาชื่อ นายสุพจน์ หมื่นจิตต์ มารดาชื่อ นางลำดวน หมื่นจิตต์ การศึกษา ระดับประถมศึกษา รร. ตากสินราชรนุสรณ์ จ.ตาก ระดับมัธยมศึกษา รร. ตากพิทยาคม จ.ตาก ระดับ ปกศ.ต้น วิทยาลัยครูกำแพงเพชร จ. กำแพงเพชร ระดับ พม. (ปกศ.สูง) ศึกษาด้วยตนเอง ระดับปริญญาตรี วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กทม.

เพลงที่เล่นส่วนใหญ่เป็นเพลงแนว "เพื่อชีวิต" คือก็เล่นทั้งเพลงคนอื่นและเพลงของตัวเองบ้าง โดยจะเน้นเฉพาะเพลงที่เป็นเนื้อหาที่กล่าวถึงเรื่องราวของเด็กนักเรียนในชนบทที่อยู่ห่างไกลความเจริญเป็นหลัก และเพลงที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติบ้าง เพลงเป็นสื่อที่เข้าถึงจิตใจคนได้ง่ายและรวดเร็ว จึงเริ่มมีคนรู้จักและให้การสนับสนุน โดยชมรมตะกร้อจังหวัดตากมอบเงินสนับสนุนเป็นทุนในการทำเทปชุดแรก ชื่อชุด ?เพื่อเด็กน้อย? ก็ผลิตออกมาจำนวน 2,000 ม้วน ใช้เวลาจำหน่ายประมาณ 1 ปี หักค่าใช้จ่ายแล้วเหลือเงินประมาณ 40,000 บาท ก็ได้มอบให้กับสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดตาก เพื่อมอบเป็นทุนให้แก่โรงเรียนที่อยู่ห่างไกลและกันดารที่สุดใน 8 อำเภอ ภายในจังหวัดตาก โรงเรียนละ 5,000 บาท เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในโครงการอาหารกลางวันของเด็กนักเรียน

จากนั้นเป็นต้นมา บทเพลงจึงถูกถ่ายทอดออกไปสู่สาธารณะเรื่อยๆ และในวงที่กว้างมากขึ้น อำเภออุ้มผางมีนักท่องเที่ยวจากต่างถิ่นเข้าไปเที่ยวมากมายในแต่ละปี จึงได้รับการสนับสนุนจากมวลชนในหลายกลุ่ม หลายองค์กร ในปีหนึ่งๆ จะมีรถบรรทุกอาหาร เครื่องนุ่งห่ม อุปกรณ์การศึกษา ฯลฯ ไปสู่อุ้มผางมากขึ้นเป็นลำดับ?

จนกระทั่งสามารถกระจายความช่วยเหลือดังกล่าวออกไปได้ทั่วทุกโรงเรียน (ที่ขาดแคลน) ภายในอำเภออุ้มผาง

+0 โหวต · 0 ตอบกลับ

ชีวิตและงาน

เกิดมาเป็นลูกครูประชาบาลเงินเดือนน้อย มีพี่น้องหลายคน แม่เป็นชาวนา ทุกคนในครอบครัวต้องช่วยกันทำงานตั้งแต่เล็กๆ อพยพตามพ่อที่ต้องย้ายไปสอนตามโรงเรียนที่อยู่ห่างไกล กันดาร เกือบสิ้นชีวิตด้วยโรคปอดบวมตั้งแต่เด็กๆ คือเมื่ออายุประมาณ 3 ขวบ ในขณะที่ตามพ่อซึ่งไปสอนหนังสืออยู่ที่ดอยมูเซอ

ก็เกิดอาการจากโรคปอดบวมกำเริบ พ่อต้องแบกขึ้นหลังมาออกจากหมู่บ้านมาหาหมอที่ในเมืองตาก เกือบเอาชีวิตไม่รอดเหมือนกัน พอเริ่มเติบโตขึ้นมาก็มาปักหลักอยู่ที่ตำบลหนองหลวง อ. เมืองตากในปัจจุบัน ช่วยแม่ทำอิฐมอญ ไปอยู่วัดเป็นเด็กวัดบ้าง ทำงานรับจ้างทั่วไปบ้าง งานก่อสร้าง จับกังเอาหมด เรียน ปกศ. ต้นด้วยเงินที่พ่อให้มา 500 บาท นอกจากนั้นก็ทำงานหาทุนเรียนด้วยตัวเองมาตลอด พอจบ ปกศ. ต้น ก็ไม่มีโอกาสได้เรียนต่อกับเขาเพราะไม่มีเงินเรียนต่อ ก็ออกมารับจ้างถีบรถสามล้ออยู่เกือบปี จนกระทั่งสุดท้ายสอบบรรจุเข้ารับราชการเป็นครูได้ ก็เลือกลงที่อุ้มผางเลย ปกติแล้ว อ. อุ้มผางนี่ไม่มีใครอยากไปอยู่

หลายคนถึงขนาดว่าพอรู้ตัวว่าต้องไปอยู่อุ้มผางก็ยอมสละสิทธ์เลย ก็มีหลายต่อหลายคน เพราะสมัยเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้วนี่ อ. อุ้มผาง นี่ถือว่าทุรกันดารมาก การเดินทางก็ลำบากต้องเดินทางตัดเข้าเขตประเทศพม่า ไข้ป่าก็แรง แล้วยุคนั้นนี่เรื่องของการแตกแยกทางอุดมการณ์นี่ยังมัอยู่สูงมากที่อุ้มผาง แต่ก็ด้วยวัยหนุ่มแน่น อายุเพิ่งจะประมาณ 20 ปี ก็ไม่สนใจอุปสรรคใดๆ อยู่แล้ว

อุ้มผางเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้วนี่ ลำบากขนาดไหนก็ลองจินตนาการดู ฝนตกชุกตลอดทั้งปี สัตว์ป่ามากมาย ป่าไม้อุดมสมบูรณ์ อากาศหนาวเย็นตลอดปี สมัยนั้นการรบพุ่งตามแนวชายแดนไทย-พม่า ระหว่างกองทัพกะเหรี่ยงกู้ชาติกับกองทัพพม่าก็ยังรุนแรงอยู่ โดยที่สมรภูมิที่แรงที่สุดก็อยู่ติดเขต อ. อุ้มผางนี่แหละ เห็นภาพเด็กที่ขาดแคลนเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เครื่องเขียนแบบเรียนอะไรต่างๆ นี่ก็ได้แต่ทนดูอยู่ ไม่รู้ว่าชะช่วยเหลือได้อย่างไร เงินเดือนหลังจากส่งไปให้น้องเรียนหนังสือแล้วก็เหลือเดือนละไม่กี่บาท

จนกระทั่งวันเวลาผ่านไปกว่า 10 ปี น้องๆ ก็เรียนจบกันไปหมดแล้ว ครอบครับก็พออยู่พอกินไม่เดือดร้อนอะไร ปี 2535 จึงได้เริ่มตั้งโครงการชื่อว่า "เพื่อเด็กน้อย" พอการใช้ความรู้ความสามารถทางดนตรีที่พอมีอยู่ ออกตระเวนเล่นดนตรีในลักษณะ "เปิดหมวก" และเข้าไปติดต่อขอเล่นตามร้านอาหารบ้าง และก็ได้บอกวัตถุประสงค์ของการทำงานเพื่อเด็กๆ ตามสถานที่ๆ เข้าไป พร้อมกับขอรับบริจาคเสื้อผ้าบ้าง เครื่องเขียนแบบเรียนบ้าง หรือเงินบ้างตามความสมัครใจของผู้บริจาค

+0 โหวต · 0 ตอบกลับ

พึ่งเคยได้ยิน ได้ฟังก็วันนี้แหละค่ะ

ความหมายดีนะคะ

+0 โหวต · 0 ตอบกลับ

คำตอบของคุณ

(ไม่บังคับ)

เพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีการตอบกลับ

คำถามที่คุณอาจจะสนใจ

ดูคำถามที่เกี่ยวกับ บันเทิงและเพลง
ถามคำถาม