คำถาม
ถามคำถาม

เวลามีปัญหา จะมีคนที่มีความคิดต่างกัน2ประเภท

1.คนที่ ตั้งคำถามว่า ทำไมมันถึงเป็นอย่างนี้?

2.คนที่ ตั้งคำถามว่า จะแก้ไขยังไงดี?

แล้วแบบไหนจะดีกว่า...?

วิธีที่1 อาจดูแย่ที่จ้องมองอดีต

แต่กับปัญหาที่มีเวลาเหลือเฟือในการจัดการ การศึกษาต้นเหตุ ก็เป็นเรื่องที่ดี

วิธีที่2 อาจจะดูดี ที่มองไปข้างหน้า

แต่กับปัญหาที่เป็นปัญหาใหญ่โต มีต้นเหตุซับซ้อน การไม่ศึกษาสาเหตุก่อน ก็จะทำให้การแก้ปัญหายุ่งยาก

แต่ละวิธีคิด ก็ดีต่างกันไป

ไม่มีใครดีกว่าใคร เราก็แค่ คิดกันคนละแบบ เหมาะกับคนละปัญหา

เท่านั้นเองแล้วคุณล่ะ คิดว่ายังไง?

7 คำตอบ · +9 โหวต · 2 รายการโปรด · 44 อ่านแล้ว

1.แก้ไขให้บรรเทาหรือหายก่อน..เพราะถ้าเกิดโดนยิงก็คงไม่ใครมาหาสาเหตุก่อน..ต้องพาไปรักษาก่อนเป็นแน่..

2.หาสาเหตุ..ใคร..อะไร..ที่ไหน..อย่างไร..เกิดจากความตั้งใจหรือประมาท..

3.หาวิธีป้องกัน..ไม่ให้เกิดขึ้นอีก..ครั้งแรกอาจเพราะไม่รู้..แต่สองต้องไม่มี..เพราะรู้แล้วนี่..

แต่คนทั่วไปจะหาสาเหตุก่อนแล้วค่อยแก้ไข..จากนั้นค่อยหาวิธีป้องกัน..

และคนส่วนใหญ่ชอบพูดว่าไม่มีใครอยากให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้หรอก..

ไม่อยากให้เกิดก็ต้องป้องกัน..ไม่ประมาท..ต้องพิจารณาด้วยสติ..มองโลกให้กว้าง..อย่าใจแคบ..และเห็นแก่ตัว..

+4 โหวต · 1 ตอบกลับ

คนมักชอบพูดว่า อย่าเห็นแก่ตัว อย่าใจแคบ แต่จริงๆแล้วคนทุกคนล้วนเห็นแก่ตัว

และใจแคบทั้งนั้นแหละ แต่ไม่ยอมรับความจริงมากกว่า ลองพิจารณาดูดีๆสิ 5555

+2 โหวต

ก็ถูกแล้ว ถ้าปัญหาด่วนต้องแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าไปก่อน แล้วหาสาเหตุ

เพื่อป้องกันปัญหาไม่ให้ปวศ.ซ้ำรอย แต่อย่างที่รู้ๆกัน หลายปัญหามิใช่เกิดจาก

ใครคนใดคนหนึ่ง แต่เกิดจากระบบมั่ง องค์กรมั่ง ซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมของเรา

ก็ไม่สามารถทำไรได้ เพราะปัจจัยภายในอาจพอควบคุมได้ แต่ปัจจัยภายนอกยาก

จะควบคุม

+3 โหวต · 0 ตอบกลับ

เชื่อว่า คนสองคนนั้น คือเราในคนละเวลา

คนละเหตุการณ์ คนเรามักมีสองความคิดนี้

แต่อาจคิดอะไรก่อนหลัง แบบหนึ่งก่อน

หรือแบบสองก่อน มากกว่ากัน

เป็นการขยายมุมมองที่ดี ดีกว่าบอกแค่ว่า

1.คนที่ ตั้งคำถามว่า ทำไมมันถึงเป็นอย่างนี้?

2.คนที่ ตั้งคำถามว่า จะแก้ไขยังไงดี?

ไว้ต้องไปหาเวลาพิจารณาว่าเรานี้ ชอบคิดแบบไหนก่อนนะ

เราคือนักแก้ไข ที่พร้อมเปลี่ยนแปลง

หรือเราคือนั่งค้น นักจดจ้อง หาปัญหา

ขอบคุณบทความ เมื่อวานได้ตำแหน่งเจ้าแม่กาเฟอีนไป

วันนี้ไม่รักษาตำแหน่งเหรอ

บาย

+2 โหวต · 0 ตอบกลับ

ถ้าปัญหาเกิดได้ ปัญหาก็ต้องแก้ได้ และปัญหาก็ต้องแก้ที่ต้นเหตุ

ถ้าแก้ที่ปลายเหตุ ปัญหาแบบเดิมก็จะเกิดขึ้นซ้ำอีก ไม่จบไม่สิ้น

+2 โหวต · 0 ตอบกลับ

ทุกข์ สมุทัย นิโรจ มรรค ======> คือทางออก

+1 โหวต · 1 ตอบกลับ

ทั้ง 2 วิธีเป็นการแก้ไขปัญหาที่ดีครับ อยู่ที่เราเองจะสามารถประยุกต์ทั้ง 2 มารวมกันได้ไหม ถ้าทำได้ ปัญหาคงแก้ได้ไม่ยากนะครับ

+1 โหวต · 0 ตอบกลับ

เรามีความคิดเกิดขึ้นทั้งสองแบบค่ะ

ทำไมจึงเกิด

จะแก้ไขยังไง

ด้วยวิธีไหน

คาดว่าผลจะเปนยังไง

พอแก้ไขแล้ว.....ดูผล

หากผลไม่เปนที่พอใจ

คราวหน้าเปลี่ยนวิธี

โดยเฉพาะการร่วมงานกับคน...

หากเกิดปัญหา

เราก็มามองดูตัวเองก่อน

ปรับที่ตัวเอง....ใช้วิธีทั้งอดทน...นิ่ง...ยอมๆ...ก้มหน้าก้มตาทำงาน...ทนไม่ไหวก็แข็ง...ผลที่ตามก็เปนคลื่นรบกวนหนัก...ก็ต้องใจเยนขึ้น...หนักแน่นขึ้น...เน้นกติกา..เอางานสู้...เอางานคุ้มกะลาหัว.. และหลากวิธีประยุกต์จ้าา

+1 โหวต · 0 ตอบกลับ

คำตอบของคุณ

(ไม่บังคับ)

เพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีการตอบกลับ

คำถามที่คุณอาจจะสนใจ