ฉันงงนะจ๊า คิดได้ไง

เพื่อนฉันอยู่จังหวัดเลย ที่บ้านแกฝนลงหนักทั้งวันทั้งคืน

ท่านๆทั้งหลายบอกว่า น้ำท่วม ต้องรีบทิ้งลงแม่น้ำโขง

ฉันละงงไก่ตาแตกเลยจ้า

แถวภาคกลาง ลุ่มเจ้าพระยาเจอแล้งหนัก

ทำไมล่ะจ๊ะ ไม่หาทางผันน้ำ ชักน้ำเข้าสายน้ำ ลำคลอง ลงห้วย หนอง คลอง บึง ขุดลอกทางน้ำตามธรรมชาติที่ทุกวันนี้ปล่อยให้ตื้นเขิน แถมรุกล้ำที่แผ่นดินเอามาเป็นตัวเอง (หน้าด้านจ้า) ให้ไหลลงลุ่มเจ้าพระยา

ฉันว่าไม่ยากนะ

แต่เค้าไม่ยอมทำแบบนี้กัน

ฉันรู้เพราะอะไร

8 คำตอบ · +3 โหวต · 0 รายการโปรด · 36 อ่านแล้ว

รู้ว่าเพราะอะไร กระซิบบอกหน่อยสิคะ

เราไม่ได้ติดตามข่าวเลย

+3 โหวต · 0 ตอบกลับ

รู้แล้วไปบอกกรมชลหน่อยสิครับ

+2 โหวต · 0 ตอบกลับ

เมื่อ 20 ปีที่แล้วมีโครงการทำคลองส่งน้ำจากแม่น้ำโขง..เพื่อช่วยไม่ให้อิสานแล้งอีกต่อไป..

แต่โครงการก็ต้องระงับไปเพราะว่าต้นทุนสูงมาก..เค้าบอกว่าไม่คุ้มกับที่ต้องลงทุน..

และอีกหลายโครงการเกี่ยวกับการกักเก็บน้ำในพื้นที่หลายๆพื้นที่..ทำไม่ได้..เพราะว่าต้องเวนคืนที่ดินของชาวบ้าน..

บ้างก็โดนประท้วง..ซึ่งโครงการเหล่านั้นไม่เกี่ยวกับการสร้างเขื่อนแต่อย่างใด..

เท่าที่มองเห็นง่ายๆ..ถ้าพ่อหลวงเราไม่ออกหน้าเขื่อนป่าสักก็ไม่มีวันได้สร้าง

เพราะว่าต้องเวนคืนที่ดินของชาวบ้าน+พวกที่มีผลประโยชน์อยู่หลายพวก..

และหลังจากสร้างเขื่อนเสร็จ..ที่ดินที่เป็นนาเหล่านั้นต้องถูกน้ำท่วม..

แต่ช่วยให้ชาวบ้านอีกหลายหลังคาเรือนรอดพ้นจากน้ำท่วมซ้ำๆซากๆได้อีกหลายร้อยชีวิต...

ถ้าจะสร้างหรือปรับระบบอะไรซักอย่างล้วนต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากคนในชาติทั้งนั้น...

+1 โหวต · 0 ตอบกลับ

อันนี้ผมขอพูดตามความเข้าใจของผมคนเดียวนะครับ

ในทุก ๆ พื้นที่ของเกษตรกร หากมีพื้นที่ที่พอจะขุดบ่อ

กักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ได้ ผมอยากให้มีีครับจะมากหรือน้อย

ขึ้นอยู่กับพื้นที่ ( ดูที่ความเหมาะสม ) ของเกษตรกรเอง

เพราะเราไม่สามารถบอกได้ว่า.....น้ำในแต่ละปีมันจะมีมาก

หรือจะมีน้อยแค่ไหน กับอีกเรื่องครับ ตุ่มยักษ์ ถ้ามีแรง

เงินพอซื้อสักบ้านละ 5 - 6 ตุ่มก็ว่ากันไป ยามแล้งหาน้ำกิน

ยาก.......!!! ตุ่มยักษ์ช่วยได้นะครับ จบข่าว

+1 โหวต · 0 ตอบกลับ

ที่อยู่นี่ไม่ค่อยตกเลย ตกนิดๆหน่อยๆเองจ่ะ

+1 โหวต · 0 ตอบกลับ

ผมเองก็คิดไม่ต่างจากคุณเลยนะครับ บอกตรงๆ

ถ้าคุณมีเวลาและโอกาส ลองเอาความคิดแนวนี้ ที่คุณกล่าวมา ส่งเสนอไปยังกรมชลประทานสิครับ

เผื่ออาจจะเกิดผลดีตามมา ไม่มากก็น้อย.........

+1 โหวต · 0 ตอบกลับ

ทักทายครับหลานอินทรา แล้วที่รู้มาคืออะไรครับหลาน แต่นี้คำตอบลุงคือที่ลุงรู้มาครับ

คำถามนี้่แยกได้หลายเรื่องราวเลยทีเดียวนะหลาน

ประการแรกน่ะในคำถาม

( เพื่อนฉันอยู่จังหวัดเลย ที่บ้านแกฝนลงหนักทั้งวันทั้งคืน ท่านๆทั้งหลายบอกว่า น้ำท่วม ต้องรีบทิ้งลงแม่น้ำโขง)

คำตอบคือ ...น่าเสียดาย และน่าอิจฉาสำหรับคนภาคกลาง แทนที่จะไหลมาที่ภาคกลาง กลับไหลไปตามพรมแดนไทย - ลาว คือไหลจาก จังหวัดเลย ไปหนองคาย ไปนครพนม ไปมุกดาหาร ไปอำนาจเจริญ และไปสุดพรมแดนไทยที่อุบลราชธานี น่าจะไหลได้ไกลถึง 976 กิโลเมตรเลยนะหลาน

ประการที่สอง (ฉันละงงไก่ตาแตกเลยจ้า แถวภาคกลาง ลุ่มเจ้าพระยาเจอแล้งหนัก)

คำตอบคือ.... ต้องรู้ก่อนว่าทำไมฝนตกไม่ทั่วฟ้า ทำไมภาคอิสาน ภาคเหนือ ภาคใต้ฝนตกน้ำท่วม

แต่ภาคกลางฝนไม่ค่อยตกดินแห้งแตกระแหง และทำไมกรุงเทพถึงฝนตกน้อยกว่าที่อื่่น

ก็เพราะภาคกลางมีบรรยากาศที่เต็มไปด้วยกลุ่มควันจากรถยนต์ และโรงงานอุตสาหกรรม ครับหลาน

ทำไมฝนตกไม่ทั่วฟ้า เหตุผลก็คือ ชั้นบรรยากาศใกล้ผิวดินฝุ่นละอองที่มีเป็นลักษณะเก็บน้ำได้ และคุณภาพอากาศ

หรือมวลสารอินทรีย์ระเหยง่ายในบรรยากาศแตกต่างกัน ที่มีป่าไม้ต้นไม้มากก็เป็นปัจจัยที่ทำให้ฝนตกได้ดี

"ฝุ่นบางชนิดเก็บน้ำ เช่นฝุ่นจากทะเลจะเป็นเกลือ" เกลือมีคุณสมบัติดูดความชื้นเก็บไว้ได้ดี ทำให้ภาคใต้ฝนตกชุก

แต่"ฝุ่นที่ไม่เก็บน้ำ" เป็นฝุ่นที่ได้จากโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งภาคกลางมีเยอะ และฝุ่นละอองจากการเผาไหม้

เช่นการเผาหญ้าเตรียมปลูกข้าว ฝุ่นละอองพวกนี้ละที่ไปค้างอยู่ในบรรยากาศ

ฝุ่นไม่เก็บน้ำไปเจอกับมวลสารอินทรีย์ระเหยง่าย จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่บริเวณนั้น เช่นภาคกลางฝนจะตกน้อยกว่าภาคอื่น ๆ

ประการที่ 3 .....(ทำไมล่ะจ๊ะ ไม่หาทางผันน้ำ ชักน้ำเข้าสายน้ำ ลำคลอง ลงห้วย หนอง คลอง บึง ขุดลอกทางน้ำตามธรรมชาติที่ทุกวันนี้ปล่อยให้ตื้นเขิน แถมรุกล้ำที่แผ่นดินเอามาเป็นตัวเอง (หน้าด้านจ้า) ให้ไหลลงลุ่มเจ้าพระยา)

คำตอบคือ.... การตัดไม้ทำลายป่า บุกรุกพื้นที่ป่าไม้ เป็นเหตุทำให้ฝนตกน้อยลงได้เหมือนกัน

หรืออาจเป็นเพราะการบริการจัดการน้ำที่ผิดพลาดในเรื่องการระบายน้ำ

เช่น น้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 กักเก็บน้ำไว้ล้นเขื่อนจึงต้องระบายออก

และในปี 2555 ก็เลยกลัวน้ำท่วมอีก รีบระบายน้ำออกจากเขื่อนไม่ให้น้ำในเขื่อนมีมากไป

อีกทั้งยังมีการทำนา ปีละ 3-4 รอบ บริเวณพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ใช้น้ำในเขื่อนไปเกินความจำเป็น

ทำให้น้ำในเขื่อนไม่พอในปี 2557 ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำในเขื่อนหมดไปเร็วกว่ากำหนด

ทำให้ในปี 2558 นี่แระเหตุที่น้ำหมดเขื่อน คูคลองเเห้งจนเห็นสันดอนกลางแม่น้ำลำคลอง

แต่ต่อไปจะมีข่าวดีเรื่องการจัดการน้ำในประเทศไทยเกิดขึ้นแล้ว

เมื่อไม่กี่วันมานี้ รัฐบาลหรือ คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำแห่งชาติ หรือ กบช.

ได้มีมติที่จะแก้ภัยแล้งไม่มีน้ำใช้ และป้องกันน้ำท่วมในภายภาคหน้า

โดยจะมีโครงการ 2 โครงการ ที่จะผันน้ำจากแม่น้ำนานาชาติ ทั้งแม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำโขงมาเติมเขื่อนภูมิพล-สิริกิติ์

แนวทางปฎิบัติตามยุทธศาสตร์บริหารจัดการน้ำของประเทศ ระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่ปี 2558-2569 (ลุงตายก่อนแน่ๆ 555) เพื่อแก้ปัญหาน้ำให้ทั่วถึงทั้งประเทศ แต่งบประมาณทั้งสองโครงการนี้ เป็นงบประมาณที่สูงมาก ประมาณ 8-9 หมื่นล้านบาท ซึ่งปัจจุบันนี้ประเทศไทยไม่สามารทสร้างเขื่อนได้อีกแล้ว เพราะติดปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม หรือปัญหาพื้นที่ป่าสงวน และบ้านเรือนประชาชน จึงต้องหาวิธีผันน้ำจากแม่น้ำนานาชาติมาใช้

โครงการที่ 1 -แม่น้ำสาละวินของเมียนม่าร์มาเติมและที่เขื่อนภูมิพลที่สร้างปิดกั้นลำน้ำปิง ที่บริเวณเขาแก้ว อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ซึ่งท่านผู้นำเมียนม่าร์ยินดีให้ความร่วมมือ แต่การดำเนินการค่อนข้างยาก เพราะต้องเจาะภูเขาเพื่อวางท่อนำน้ำมาเขื่อนภูมิพล ระยะเวลาทำการน่าจะประมาณ 4-5 ปี

โครงการที่ 2 - แม่น้ำโขง มาเติมที่ เขื่อนสิริกิติ์ อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่สร้างกั้นแม่น้ำน่าน แต่สำหรับแม่น้ำนานาชาตินี้จะยากหน่อย เพราะ “ต้องผ่านมติของคณะกรรมการแม่น้ำโขง 6 ฝ่ายก่อน”

เพราะเนื่องจากเป็นแม่น้ำนานาชาติ ซึ่งคนในลุ่มน้ำโขงทุกประเทศ ถือว่า “แผ่นดิน แม่น้ำ ฟ้าเดียวกัน”

ทำให้มีพันธสัญญาของคนลุ่มน้ำโขงว่า

“การกระทำใด ๆ ต่อแม่น้ำโขงซึ่งจะมีผลกระทบต่อพื้นที่ประมง ที่อยู่อาศัยและทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดถึงวิถีชีวิต วัฒนธรรม แหล่งอารยธรรม ต้องให้ความสำคัญในการกำหนดและตัดสินใจโดยคนท้องถิ่น หรือคนที่มีวิถีชีวิตอยู่กินกับแม่น้ำตลอดลำน้ำโขง”

พันธสัญญานี้น่าจะทำหลังจากที่จีนสร้างเขื่อนเขื่อนเซี่ยวหวาน บนแม่น้ำโขงของจีน ซึ่งมีความสูงเกือบ 300 เมตร เป็นหนึ่งในเขื่อนที่สูงที่สุดในโลก ทำให้ปริมาณน้ำจากแม่โขงที่ไหลลงทะเลก็น้อยลงกว่าเดิม 14 % ในฤดูฝน และในฤดูอื่นๆ น้อยลงไปถึง 40%

ส่วนเรื่องอื่น ๆ เรื่องการขุดลอกคูคลองนั้น ก็ดีนะเป็นการป้องกันน้ำท่วมได้ แต่งบประมาณยังไม่น่าจะมี

เรื่องการขุดคลองเพิ่มในปัจจุบันก็ยังไม่มีเพราะปัจจุบันไม่ค่อยได้ใช้การเดินทางๆ น้ำกันแล้ว

แต่แม่น้ำในประเทศไทยมีหลายสายอยู่แล้วแต่ฝนไม่ตกจึงแห้งแล้งกันไปจนเห็นสันดอนกลางน้ำ

การผันน้ำไปทางโน้นทางนี้ น่าจะมีอยู่แล้วโดยธรรมชาติครับ

เช่น แม่น้ำท่าจีน เป็นแม่น้ำที่แยกมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงจังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดชัยนาท

เมื่อไหลผ่านจังหวัดชัยนาทจะเรียกว่าแม่น้ำมะขามเฒ่า

ไหลผ่านจังหวัดสุพรรณบุรี เรียกแม่น้ำสุพรรณบุรี

ไหลผ่านจังหวัดนครปฐมเรียกแม่น้ำนครชัยศรี

ก่อนออกไปสู่อ่าวไทย กลับมาเรียกแม่น้ำท่าจีนอีกครัังครับหลาน น่าสนุกไหม

ลุงได้แถม แผนที่การผันน้ำ สายหลักของประเทศไทยลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยามาให้หลานดูครับเป็นความรู้

+0 โหวต · 0 ตอบกลับ

คร่อกกกก หลับก่อนนะจ๊า ยาวจังจ้า

แต่ขอบพระคุณคุณลุงสบายใจ จ้า

+0 โหวต · 0 ตอบกลับ

คำตอบของคุณ

(ไม่บังคับ)

เพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีการตอบกลับ

คำถามที่คุณอาจจะสนใจ

คำถามในป้ายกำกับ
ถามคำถาม