น้ำใจ..สำหรับคุณ..??

บางคนชอบคิดว่า น้ำใจคือสิ่งที่.."ต้อง"..ได้ ... ถ้าไม่ได้ โกรธ เครียด น้อยใจ หนักมาก...

(เหมือนเรื่องการขอรหัส wifi ใน pantip เมื่อวันก่อน..ไปหาอ่านเองนะ..http://pantip.com/topic/34025841)..

หรือแม้แต่เรื่องดราม่าที่ไม่มีใครมีน้ำใจลุกให้เด็กอนุบาลนั่งบน BTS เมื่อวันก่อน..(ขี้เกียจหาลิงค์)..

#ช่วยลูกด้วยการปล่อย

ครั้งหนึ่งระหว่างนั่งรถไฟในประเทศญี่ปุ่น แม่ลูกคู่หนึ่งก้าวขึ้นมา ไม่มีใครสละที่นั่งให้ แต่ดูเหมือนว่าทั้งสองคนไม่ได้เดือดร้อน

ผู้เป็นแม่ไม่ได้เหลียวหาผู้ที่ได้ชื่อว่ามีน้ำใจ

ส่วนลูกสาววัยราวสามขวบยืนจับมือแม่ไว้ด้วยมือข้างขวา ในขณะที่มือซ้ายถือนมกล่องและมีกระเป๋าคล้องที่ข้อพับแขน

หมอคิดว่าสิ่งที่เห็นนี้บอกเล่าเรื่องราวบางประเด็นได้เป็นอย่างดีค่ะ จึงถ่ายภาพ(เบลอๆนี้)เอาไว้

.

.

1) เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก ร่างกายและความคิดของเด็กยังไม่พัฒนาเต็มที่ ประสบการณ์ชีวิตยังมีน้อย จึงควรได้รับ "ความช่วยเหลือ" ตามสมควร

ผู้ใหญ่มีหน้าที่

ป้องกัน เด็กจากอันตราย ที่เขาไม่รู้จัก เช่น เด็กเล็กห้ามจับมีด (เมื่อโตพอที่จะใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กได้ดี จึงค่อยใช้อย่างรู้จักระวัง)

สอน ให้เด็กสามารถทำสิ่งที่เด็กวัยนั้นๆทำได้ เช่น 1 ขวบเดินได้ 2 ขวบวิ่งได้

สอน ให้เด็กรู้ว่าเมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น ควรทำอะไร ไม่ควรทำอะไร เช่น เมื่อซื้อของต้องต่อคิว , พูดคำว่าขอบคุณและขอโทษ

ดังนั้น ความช่วยเหลือ จึงไม่ได้มาในรูปแบบการทำแทนไปเสียหมด

แต่อาจเป็นการ "ปล่อย" ให้เด็กได้ใช้ศักยภาพตามวัยของเขา รวมถึงเรียนรู้จากการลองผิดลองถูก-ทำผิดพลาด

เช่น เด็ก2ขวบสามารถวิ่งได้คล่องแล้ว เขาจึงไม่จำเป็นต้องถูกอุ้มไว้บ่อยเกินไป และหากขึ้นรถไฟแล้วไม่มีที่นั่ง การยืนก็เป็นเรื่องปกติ เพียงแต่ต้องจับมือพ่อแม่เอาไว้ ถ้ามีใครลุกให้ ให้กล่าวขอบคุณไม่ว่าเราจะรับน้ำใจนั้นหรือไม่ก็ตาม

.

.

2) น้ำใจ คือ "การเลือก" ที่จะให้ความช่วยเหลือ

มันเป็นสิทธิที่เราจะเลือกจะให้หรือไม่ให้ก็ได้ ไม่ใช่หน้าที่

ใครให้ก็ให้ด้วยความเต็มใจ ส่วนผู้ที่ไม่ได้ให้ก็ไม่มีความผิดหรือถือเป็นคนเลวร้าย

.

.

.

อย่าทำให้เด็กเข้าใจว่า การได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น เป็น "สิ่งที่พึงได้"

อายุน้อยไม่ใช่ "สิทธิพิเศษ" ในการไม่ทำตามของกติกาของสังคม

(เช่น ขอเข้าห้องน้ำสาธารณะที่คิวยาวเหยียดก่อนเพราะเขายังเด็ก...แล้วแม่ก็ได้เข้าก่อนด้วย)

ลูกจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เอาตัวรอด รู้จักเอื้อเฟื้อ รู้สึกขอบคุณไมตรีที่ผู้อื่นมีให้

หรือ เป็นผู้ใหญ่ที่ช่างเรียกร้อง มักรอคอยความช่วยเหลือจากคนอื่น ไม่พอใจเมื่อไม่ได้

ขึ้นอยู่กับว่าเขาถูกเลี้ยงมาอย่างไร และพ่อแม่ทำพฤติกรรมแบบไหนให้เขาเห็นบ่อยๆ

ความมีน้ำใจ เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของคนที่ใครๆอยากอยู่ใกล้

หากเราอยากให้ลูกมีคุณสมบัติที่น่ารักข้อนี้ เราก็ต้องสอนเขาโดยเป็น "ต้นแบบ" ของเขาค่ะ

#หมอมีฟ้า

ทีมา : https://www.facebook.com/ThaiPsychiatricAssociation/photos/a.499791366791551.1073741828.483246708446017/711839998920019/?type=1

7 คำตอบ · +5 โหวต · 0 รายการโปรด · 64 อ่านแล้ว

ยุคนี้ก็งี้แหละ อย่าไปคาดหวังอะไรจากคนอื่น จะได้ไม่ผิดหวัง อีกหน่อยเด็กโตขึ้น

ก็จะเรียนรู้ได้เอง บางคนอาจเมื่อยมากๆจนลุกไม่ไหว {คิดแง่ดี} พอดีเราไม่อยู่

ตรงนั้น จะได้ลุกให้แทน คิดแบบทางธรรมก็คือ เด็กโชคไม่ดีที่เผอิญไปยืนตรง

จุดที่ไม่มีใครลุกให้นั่ง หรือเป็นกรรมของเด็กคนนั้นที่ไม่มีแม่รวยพอที่จะมีรถส่วนตัว

พร้อมคนขับ

+2 โหวต · 1 ตอบกลับ

ถ้าผมมีลูก..ถึงจะมีรถ...แต่ผมก็จะสอนให้ลูกขึ้นรถเมล์..ขึ้นรถไฟฟ้า..

ฝึกไว้ให้รู้จักใช้ชีวิต..เพราะว่าเราไม่ได้รถขับทุกวัน...

ฝึกให้รู้จักกินข้าวแกงข้างทางมากกว่ากิน kfc พิซซ่า แมคฯ..หรือว่ากินหรูตามห้าง..

ให้รู้จักว่าบ้านเรายังมีขอทาน..ยังมีฉกชิงวิ่งราว..เพราะ..

สังคมและชีวิตเรามีทั้งด้านดีและด้านลบ...จะไม่สอนให้โลกสวยจนเกินไป...

+0 โหวต

ซึ้งครับ

+4 โหวต · 0 ตอบกลับ

อย่าน้อยที่สุดคือพึงตนเองก่อนที่จะพึ่งผู้อื่น ชอบตรงกฏระเบียบ มารยาทของ ญี่ปุ่นมากๆๆ

+3 โหวต · 0 ตอบกลับ

" น้ำใจ คือ "การเลือก" ที่จะให้ความช่วยเหลือ

มันเป็นสิทธิที่เราจะเลือกจะให้หรือไม่ให้ก็ได้ ไม่ใช่หน้าที่

ใครให้ก็ให้ด้วยความเต็มใจ ส่วนผู้ที่ไม่ได้ให้ก็ไม่มีความผิดหรือถือเป็นคนเลวร้าย "

โชคดีที่พ่อแม่เราไม่เคยสอนให้ต้องรอรับน้ำใจจากใคร แต่สอนให้เป็นฝ่ายแบ่งปันน้ำใจให้ใครๆ ทุกคน เรายืนบนรถสองแถว รถเมล์ และกอดขาแม่จนชิน ไม่คิดน้อยใจหากไม่มีใครลุกให้นั่ง เพราะแม่บอกว่า เรามีขายืนเองได้ แต่ถ้าใครช่วยเหลือต้องขอบคุณและสำนึกในบุญคุณ เพราะเขาไม่ช่วยเราก็ได้ แต่เขาเลือกช่วยเรา เพราะเขาเป็นคนดี เราต้องเป็นคนดีอย่างเขา

+3 โหวต · 0 ตอบกลับ

ขอตอบแบบเป็นกลางนะครับ

คือ ที่แน่ๆ เพราะสมัยนี้มันเปลี่ยนไปมากแล้วจริงๆครับ...^^...

ความทันสมัย เทคโนโลยี และการใช้ชีวิตประจำวัน ย่อมแฝงไปด้วยความเห็นแก่ตัวตามมาเสมอ ไม่มากก็น้อย

และความเห็นแก่ตัวนั้น ก็ไม่เลือกเพศ เลือกวัยเช่นกัน....

เหตุผลส่วนใหญ่.....ก็เพื่อ '' ความอยู่รอด '' ในสังคม นี่คือเหตุผลตัวแม่ ในสังคมอย่างแท้จริง....

อย่างน้อยที่สุด........ก็ควรจะรู้จักใช้คำว่า '' ตน เป็นที่พึ่งแห่งตน '' ให้ได้ ให้เป็น ก่อนที่จะขอพึงน้ำใจกับผู้อื่น

เพราะอย่างน้อย ไม่ได้ไปทำให้ใครต้องเดือดร้อน ไม่ต้องให้ใครมาเป็นภาระกับเรามากจนเกินไป

และไม่ต้องมาติดหนี้ '' บุญคุณ '' ต่อกัน......ไม่ว่าจะมากหรือน้อย ก็ตาม

เพราะถ้าหากเกิดอะไรขึ้นมา ตามสัญชาติญาณของมนุษย์ มักจะกล่าวถึงบุญคุณต่อกันแน่นอน ( พิสูจน์ได้ )

ฉะนั้นดีที่สุด สำหรับสมัยนี้.........'' ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน '' ดีที่สุดแล้ว และสามารถนำไปใช้ได้จริงทั่วโลก

ถึงแม้แต่ละเชื้อชาติในโลก จะมีวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ ที่ต่างกันออกไปก็ตาม.........

+3 โหวต · 0 ตอบกลับ

นานมาแล้ว..

ผมขึ้นรถเมล์พร้อม พระสงฆ์ ที่อายุมากแล้ว

ผมให้ท่านขึ้นก่อน ผมขึ้นตาม ยืนห่างจากท่านพอประมาณ

รถเมล์ ไม่แน่นมากนัก แต่ไม่มีที่ว่างสำหรับนั่ง

รถเมล์วิ่งไปได้ 2-3 ป้าย ก็ไม่มีใครลุกให้ท่านได้นั่ง

รถเมล์เบรคอย่างกระทันกัน กลางถนน ทุกคนคงตกใจรวมถึงผม

คนขับรถเมล์ ลุกจากที่นั่งคนขับ แล้วตะโกนเสียงดังฟังชัดว่า...

เอ้า..มนุษย์ทั้งหลาย ใคร ? ก็ได้ ลุกให้หลวงพ่อนั่งหน่อยได้มั๊ย ?

หลวงพ่อท่านตอบว่า ไม่เป็นไร เดี๋ยว อาตมา จะลงป้ายหน้าแล้ว

ผมเลยจำใจต้องลงป้ายเดียวกับท่านเพราะ ใจมันหดหู่.

คนไทย ( บางคน )....... แมร่ง ช่างแล้งน้ำใจจริงๆ

*** หากผมใช้คำพูดรุนแรงต้องขอโทษด้วย.

+1 โหวต · 0 ตอบกลับ

ในบางครั้งการสอนเด็ก....ก็ไม่จำเป็นในการจำกัดอยู่แค่.....กรอบ

+0 โหวต · 0 ตอบกลับ

คำตอบของคุณ

(ไม่บังคับ)

เพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีการตอบกลับ

คำถามที่คุณอาจจะสนใจ

คำถามในป้ายกำกับ
ถามคำถาม