คำถาม
ถามคำถาม

การบินไทยพลิกฟื้นตามเป้า ปี 58 ขาดทุนจากการดำเนินงาน 1,304 บาท

เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559 นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยผลการดำเนินงานปี 2558 ว่าขาดทุนจากการดำเนินงาน 1,304 ล้านบาท ลดลงจาก 21,715 ล้านบาท ในปี 2557 หรือลดไปกว่า 94.3% มาจากค่าน้ำมันเครื่องบินที่ลดลง ประกอบกับมาตรการควบคุมและบริหารจัดการค่าใช้จ่ายอย่างเข้มงวด แต่หากรวมผลการด้อยค่าของสินทรัพย์ โดยเฉพาะเครื่องบินพิสัยไกลที่รอจำหน่าย 10 ลำและค่าใช้จ่ายพิเศษตามแผนปฏิรูป ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายสูงถึง 16,324 ล้านบาท (โดยยังมีรายได้จากอัตราแลกเปลี่ยนมาช่วยพยุงกว่า 4,000 ล้านบาท) สุดท้ายทำให้ขาดทุนสุทธิอยู่ที่ 13,047 ล้าน

ทั้งนี้ จากงบการเงินของการบินไทย ปี 2558 ที่ส่งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) พบว่า ไตรมาสที่ 4 ของปี 2558 การบินไทยมีรายได้รวม 53,183.17 ล้านบาท พลิกฟื้นจากไตรมาส 2 และ 3 ที่มีรายได้เพียง 38,218.23 ล้านบาท และ 39,887.11 ล้านบาทตามลำดับ ด้านค่าใช่จ่ายรวมในไตรมาส 4 อยู่ที่ระดับ 48,154.78 ล้านบาท ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2558 จากระดับ 59,037.62 ล้านบาทในไตรมาสแรก หรือลดลงกว่า 10,000 ล้านบาท ส่งผลให้ไตรมาสสุดท้ายการบินไทยมีกำไ

ขณะที่ความคืบหน้าของแผนฟื้นฟูกิจการ หลังจากช่วงต้นปี 2558 คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือซูเปอร์บอร์ด อนุมัติแผนฟื้นฟูกิจการใน 5 ประเด็น

1) การปรับเส้นทางบินให้สอดคล้องกับความต้องการ โดยเพิ่มเส้นทางที่มีกำไรและหยุดบินในเส้นทางที่ขาดทุนหรือขาดศักยภาพที่จะพัฒนา ในปีที่ผ่านมาได้หยุดบินไปทั้งสิ้น 4 เส้นทางหลัก ขณะเดียวกัน จำนวนผู้โดยสารยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ลดต้นทุนและมีรายได้เพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก ในปี 2559 ได้วางแผนขยายเปิดเส้นทางการบินอีก 3-4 เส้นทางในภูมิภาคอาเซียนเป็นหลัก นอกจากนี้ ยังมีความหวังที่จะกลับเข้าไปทำตลาดในสหรัฐอเมริกาอีกครั้ง แต่ต้องรอผลการประเมินจากสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือ FAA ให้กลับไปที่ระดับ category 1 ก่อน

2) ปรับแผนการตลาด โดยเพิ่มสัดส่วนการขายตั๋วผ่านระบบออนไลน์และขายตั๋วเองมากขึ้น หลังจากที่ผ่านมาใช้ระบบตัวแทนค่อนข้างมาก ซึ่งการปรับปรุงแผนการตลาดดังกล่าวนี้ ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องให้มีประสิทธิภาพต่อไป

3) แผนการขายทรัพย์สินและอากาศยานที่ไม่ได้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบินที่จำนวนมากเกินความจำเป็น และอาคารสำนักงานต่างๆ ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า โดยในปี 2558 ได้ปลดระวางเครื่องไป 15 ลำ และยังอยู่ระหว่างขายอีก 14 ลำ ขณะเดียวกัน ได้รับมอบเครื่องบินใหม่ที่เหมาะสมกับเส้นทางการบินอีก 8 ลำ ส่งผลให้สิ้นปีการบินไทยมีเครื่องบินอยู่ 95 ลำ ลดลงจาก 102 ลำ ด้านการจัดซื้อเครื่องบินเพิ่ม ขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุป แต่ของเดิมในปี 2559 ต้องรับมอบเครื่องบินอีก 2 ลำ เป็นเครื่องรุ่น Airbus A350 และในปี 2560 รับมอบ 7 ลำ เป็นรุ่น Airbus A350 5 ลำ และ Boeing 787 อีก 2 ลำ และสุดท้ายในปี 2561 รับมอบอีก 5 ลำ รุ่น Airbus A350 ขณะที่การขายสำนักงานต่างๆ ยังอยู่ในการพิจารณา ไม่ได้มีข้อสรุปแต่อย่างใด

4) ปรับโครงสร้างอัตรากำลังจาก 25,000 ราย เหลือเพียง 20,000 ราย ในปี 2558 มีผู้ร่วมโครงการ “ร่วมใจจาก” 1,401 ราย มีผลแล้ว 1,277 ราย ใช้งบประมาณไป 5,500 ล้านบาท ขณะที่ปี 2559 ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะต้องปรับโครงสร้างอีกจำนวนเท่าไร แต่มีงบประมาณรองรับไว้ที่ 2,000 ล้านบาท

5) ปรับปรุงพัฒนากิจการที่ไม่ใช่ภารกิจหลักของการบินไทย เช่น กิจการโรงแรมและกิจการขนส่งน้ำมัน ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป และอยู่ในขั้นตอนของการดำเนินงาน

“ตามที่ทางการบินไทยได้วางแผนยุทธศาสตร์ 3 ระยะ คือ ระยะแรก ลดการขาดทุนให้ได้โดยเร็วที่สุด ระยะที่ 2 เร่งสร้างความแข็งแกร่งในการแข่งขันและสร้างรายได้ และระยะสุดท้าย ขยายธุรกิจให้เติบโตและมีกำไรในระยะยาว โดยใช้จุดแข็งขององค์กรเป็นหลัก ตอนนี้เราหยุดขาดทุนได้แล้ว ขั้นต่อไปเราจะอยู่ในโหมดของการเติบโตเต็มรูปแบบ ทั้งในภูมิภาคและทวีปต่างๆ” นายจรัมพรกล่าว

1 คำตอบ · +2 โหวต · 0 รายการโปรด · 20 อ่านแล้ว

คำตอบของคุณ

(ไม่บังคับ)

เพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีการตอบกลับ

คำถามที่คุณอาจจะสนใจ

ดูคำถามที่เกี่ยวกับ ข่าวและเหตุการณ์
ถามคำถาม