กลับไปยังคำถาม ชัยภูมิ & ชัยนาท
ถามคำถาม

ในคำตอบ

คำสมาส

- การย่นนามศัพท์ตั้งแต่สองคำขึ้นไปให้เป็นคำเดียวในภาษาบาลีและสันสกฤต การสร้างคำสมาสในภาษาไทยได้แบบอย่างมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต โดยนำคำบาลี-สันสกฤตตั้งแต่ 2 คำมาต่อกันหรือรวมกัน

เช่น..วัฒน + ธรรม = วัฒนธรรม

สาร + คดี = สารคดี

พิพิธ + ภัณฑ์ = พิพิธภัณฑ์

กาฬ + ปักษ์ = กาฬปักษ์

ทิพย + เนตร = ทิพยเนตร

คำสนธิ

-คำสนธิในภาษาไทย หมายถึง คำที่มาจากภาษาบาลี – สันสกฤตมาเชื่อมต่อกัน ทำให้เสียงพยางค์หลังของคำแรกกลมกลืนกันกับเสียงพยางค์แรกของคำหลัง

เช่น..วิทย+อาลัย = วิทยาลัย

พุทธ+อานุภาพ = พุทธานุภาพ

มหา+อรรณพ = มหรรณพ

นาค+อินทร์ = นาคินทร์

มัคค+อุเทศก์ = มัคคุเทศก์

.........

ชัยภูมิ..คำที่นำมาสมาสกันแล้ว ความหมายหลักอยู่ที่คำหลัง ส่วนความรองจะอยู่ข้างหน้า เช่น

ยุทธ (รบ) + ภูมิ (แผ่นดิน สนาม) = ยุทธภูมิ (สนามรบ)

ส่วน..

ชัยนาท..เป็นคำสมาสบางคำไม่อ่านออกเสียงสระท้ายพยางค์ของคำหน้า (ไม่อ่านออกเสียงอย่างสมาส)

คำที่เป็นชื่อจังหวัด ไม่อ่านออกเสียง “อะ” ท้ายพยางค์ของคำหน้า ตัวอย่างเช่น

ชลบุรี ชัยนาท นครพนม นครสวรรค์ปทุมธานี ปราจีนบุรี ลพบุรี สกลนคร

สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สุพรรณบุรี อุดรธานี อุทัยธานี

ชื่อจังหวัดที่ต้องออกเสียงอย่างสมาส อ่านออกเสียง “อะ” ท้ายพยางค์ของคำหน้า ตัวอย่างเช่น

เพชรบุรี อ่านว่า เพ็ด-ชะ-บุ-รี

เพชรบูรณ์ อ่านว่า เพ็ด-ชะ-บูน

ราชบุรี อ่านว่า ราด-ชะ-บุ-รี

...แล้วก็ยังมีคำที่อ่านเหมือนสมาส..แต่ไม่ใช่สมาสอีก..ไว้ต่อคราวหน้าก็แล้วกันนนะ...

+1 โหวต · 2 ตอบกลับ

ขอบคุณครับ

ได้ความรู้เยอะเลย....

ปล. คิดถึงนิทานก่อนนอน

พักนี้นอนไม่ค่อยหลับ 5555

ว่าง ๆ จัดมาให็สักหนึ่งเรื่องนะครับ

+1 โหวต

ความคิดเห็นของคุณ

(ไม่บังคับ)

เพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีการตอบกลับ