คำถามที่ถูกเก็บไว้
ถามคำถาม

ความฝัน

คุณเคยฝันเห็นเหตุการณ์หรือสถานที่ๆ หนึ่งที่คุณไม่รู้ว่าที่ไหนและเกิดขึ้นเมื่อไหร่ แต่คุณรู้สึกว่าเหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ซึ่งมันไม่ได้มีอยู่จริง แต่ว่ามันมีจริงในความฝันของคุณ นั่นหมายความว่าคุณฝันถึงเหตุการณ์เดิม สถานที่เดิม อาจจะต่อเนื่องหรือไม่ก็ได้ ผมมั่นใจว่าอาจจะเคยเกิดขึ้นกับหลายๆ คนเพราะมันเคยเกิดขึ้นกับผมและไม่ใช่ครั้งเดียว ผมเลยอยากจะให้คุณเล่าถึงความฝันที่เคยเคย อาจจะเป็นในรูปแบบอื่น เช่น ความฝันที่เป็นจริง การฝันซ้อน ความฝันที่น่าจดจำของคุณ ความฝันที่คุณสามารถควบคุมมันได้ หรืออื่นๆ ที่คุณอยากจะแบ่งปัน ผมว่ามันเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ซับซ้อน วิทยาศาตร์สามารถอธิบายได้แต่ไม่ทั้งหมด

และนี่เป็นบทความเกี่ยวกับความฝันที่เอามาแบ่งปันครับ

วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการฝัน (Science of Dreaming-The Sci Show)

การฝันคงเป็นหนึ่งในสิ่งแปลกที่สุดที่มนุษย์เราทำ แต่ผมไม่ได้ตัดสิ่งแปลกๆหลายอย่างที่ร่างกายมนุษย์เราทำได้นะ เพราะยังมีอีกหลายอย่างที่บ้าบอมาก แต่ความฝันมันบ้าบอเป็นพิเศษ เพราะไม่ว่าคุณจะเคยฝันมาแล้วกี่ครั้งในชีวิต นานๆครั้งเมื่อคุณตื่นขึ้นมา คุณจะรู้สึกว่า “เราฝันอะไรเนี่ย”

แต่เช่นเดียวกับสิ่งอื่นๆ วิทยาศาสตร์กำลังช่วยให้เราเข้าใจมากขึ้นว่าทำไมเราถึงฝัน สมองเราเป็นยังไงเวลาที่ฝัน และว่าทำไมความฝันถึงมีความสำคัญต่อสมองของเราในยามที่เราตื่นด้วย พยายามตื่นฟังให้จบนะครับ เพราะตอนนี้เจ๋งมากจริงๆ

มนุษย์เราพยายามทำความเข้าใจความฝันมาตั้งแต่เริ่มมีมนุษย์แล้ว แต่บุคคลที่เรามักเชื่อมโยงเข้ากับวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความฝันก็คงจะเป็น ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ในปี 1899 เขาเขียนหนังสือเรื่อง “การตีความความฝัน” (The Interpretation of Dreams) ที่ซึ่งเขากล่าวว่า ความฝันส่วนใหญ่เป็นสัญลักษณ์ และสามารถช่วยให้เราเข้าใจความปรารถนาที่ถูกเก็บกดเอาไว้ในจิตใต้สำนึก (unconscious mind) ของเราได้

สังเกตเห็นว่า ความปรารถนาที่ฟรอยด์พูดถึงมักเกี่ยวข้องกับความปรารถนาเรื่องเพศแบบแปลกๆ ฟรอยด์ก็.... คือ

ฟรอยด์ล่ะนะ

จนกระทั่งในช่วงยุค 1950 เมื่อนักวิทยาศาสตร์เริ่มมีเครื่องมือที่สามารถอ่านคลื่นไฟฟ้าในสมองได้ เราถึงเริ่มเข้าใจการทำงานของสมองขณะกำลังฝันอยู่

นักวิจัยของมหาวิทยาลัยชิคาโก ยูจีน อาเซอรินสกี (Eugene Aserinsky) และ นาธาเนียล ไคลท์แมน (Nathanial Kleitman) บุกเบิกงานวิจัยด้านนี้ โดยติดเครื่อง EEG เข้ากับผู้รับการทดลอง แล้วสังเกตการทำงานของสมองพวกเขาขณะหลับ

พวกเขาคาดการณ์ว่าสมองของมนุษย์คงจะพักผ่อนขณะหลับ แต่สิ่งที่พวกเขาพบกลับตรงกันข้าม

พวกเขาพบว่ากิจกรรมภายในสมอง (brain activity) จะผันผวนตามรูปแบบที่คาดเดาได้ ในช่วงระยะเวลาประมาณ 90 นาที วงจรการนอนหลับจะเริ่มขึ้นเมื่อเราเริ่มเคลิ้มหลับ แล้วค่อยๆเปลี่ยนไปเป็นระยะของการหลับลึก (deep sleep) ซึ่งมีกิจกรรมทางสมองช้ากว่า และกลับมาเป็นระยะที่สมองเราเกือบจะตื่นเต็มที่

และระยะที่สมองของผู้นอนหลับเกือบจะตื่นเต็มที่นี่เองที่น่าสนใจที่สุด กิจกรรมทางสมองของคนเราในระยะการนอนหลับนี้ เกือบจะเหมือนกับเวลาที่เราตื่นอยู่ แต่ที่ยิ่งแปลกกว่านั้นคือ ร่างกายของผู้นอนหลับจะเป็นอัมพาตชั่วคราว อวัยวะส่วนเดียวที่ยังเคลื่อนไหวอยู่คือลูกตา ที่กลิ้งกลอกไปมาใต้เปลือกตา คุณคงรู้จักระยะการนอนหลับนี้แล้วครับ อาเซอรินสกีกับไคลท์แมนเรียกระยะการนอนหลับนี้ว่า การนอนหลับแบบ R.E.M. ซึ่งย่อมาจาก Rapid Eye Movement (การเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วของลูกตา) ที่เป็นลักษณะเด่นของระยะการหลับนี้ พวกเขายังเรียกมันว่า “Paradoxical Sleep” ด้วย เพราะผู้นอนหลับดูเหมือนจะตื่นอยู่ถ้าดูที่กิจกรรมภายในสมองของพวกเขา แต่ที่จริงพวกเขากลับหลับไม่รู้เรื่องเลย

พวกเขาคงคิดว่าสองชื่อนี้ดีกว่า “การหลับที่ตื่นตัวทางเพศ” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในลักษณะเด่นของการหลับในระยะนี้

อย่างหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบก็คือ ถ้าผู้นอนหลับในระยะ R.E.M. เกิดตื่นขึ้นมา พวกเขาจะจำความฝันได้อย่างชัดเจน และบ่อยครั้งเป็นความฝันซึ่งมีอารมณ์ที่เข้มข้นรุนแรง แน่นอนว่านี่ไม่ใช่การหลับระยะเดียวที่ผู้นอนหลับฝัน แต่พวกเขากล่าวว่าความฝันในช่วงนี้เหมือนจริงมาก ปรากฏว่าทุกๆ ประมาณ 90 นาที ในช่วงท้ายของวัฎจักรการนอนหลับ (sleep cycle) สมองของเราจะเข้าสู่ระยะ R.E.M. และเริ่มสร้างสรรค์เรื่องราวบ้าๆเยอะแยะ ซึ่งจะยาวนานประมาณ 20-30 นาที นี่เป็นช่วงที่คุณจะฝันแปลกประหลาดแต่ชัดเจนมาก จนบางครั้งคุณเกือบจะสับสนว่าเป็นชีวิตจริง

งั้น... เจ้าสมอง บอกฉันหน่อยสิ ทำไมต้องจริงจังกับการนอนขนาดนั้น แล้วทำไมนายต้องทำให้ร่างกายส่วนอื่นๆเป็นอัมพาต เพื่อให้ความฝันเหมือนจริงด้วย

คำตอบอาจะมีหลายอย่างครับ แต่หนึ่งในนั้นคือสมองเราอาจกำลังพยายามเชื่อมโยงเหตุการณ์สำคัญต่างๆในชีวิตเรา เพื่อช่วยในเวลาที่เราตื่น

นักวิจัยในปัจจุบันค้นพบว่าฟรอยด์เข้าใจเรื่องความฝันผิดไป อย่างน้อยก็ในแง่สำคัญแง่หนึ่ง เราไม่ได้ฝันเกี่ยวกับความปรารถนาลับๆของเรา แต่ส่วนใหญ่แล้วเรามักจะฝันเรื่องที่เราทำในวันนั้นๆ ขณะที่เราหลับสมองของเราจะจัดระเบียบสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อตอนที่เราตื่นอยู่ และตัดสินใจว่าประสบการณ์ใหม่ไหนสำคัญพอที่จะจดจำและสิ่งไหนควรลืม และค้นหาสิ่งเชื่อมโยงระหว่างสิ่งต่างๆ ที่ดูเหมือนไม่ได้ข้องเกี่ยวกัน ซึ่งอาจช่วยให้เราเป็นมนุษย์ที่ดีขึ้นได้ในวันพรุ่งนี้

และการที่สมองเราเลือกทำเรื่องที่ว่านี้ตอนนอนหลับก็สำคัญเช่นกัน เพราะสมองเราเวลาตื่นออกจะเจ้าระเบียบเกินไปที่จะยอมให้เกิดการแก้ปัญหาแบบสร้างสรรค์อย่างนี้ขึ้น และกิจกรรมที่เกิดขึ้นเวลาเราฝันนี้จะช่วยให้สมองเราตอนตื่นแก้ปัญหา เชื่อมโยงสิ่งต่างๆ และคิดนอกกรอบได้ดีกว่า

ความฝันยังทำให้เกิดสิ่งประดิษฐ์และการค้นพบสำคัญๆ มากมายในประวัติศาสตร์ด้วย ยกตัวอย่างเช่น ดีมิทรี เมนเดเลเยฟ คิดระบบการจัดตารางธาตุของเขาได้ในฝัน หลังจากสมองเวลาตื่นของเขาใช้เวลาคิดอยู่หลายเดือน แต่กลับไปไม่ถึงไหน และงานวิจัยแสดงให้เห็นด้วยว่าสมองเราแก้ปัญหาหรือปริศนาได้ดีกว่าถ้าได้งีบหลับสักพักระหว่างที่กำลังแก้ปัญหาอยู่ ยกตัวอย่างเช่น ในงานวิจัยเมื่อปี 2004 ผู้รับการทดลองได้รับคำสั่งให้หาความเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มตัวเลขสองกลุ่ม รับการทดลองกลุ่มที่ได้งีบหลับ แก้ปัญหาได้สูงถึง 60% ขณะที่เพียง 25% ของกลุ่มที่ไม่ได้งีบแก้ปัญหาได้ และในอีกงานวิจัยหนึ่งที่ผู้รับการทดลองได้รับคำสั่งให้หาความเชื่อมโยงระหว่างคำที่ดูจะไม่ได้เกี่ยวข้องกัน คนที่หลับถึงระยะ R.E.M. ระหว่างที่รับการทดสอบแก้ปัญหาได้มากกว่าคนที่ไม่ได้หลับถึง 40%

ดังนั้นความฝันจึงเกี่ยวข้องกับการเชื่อมโยงสิ่งต่างๆและการหาแบบแผนที่สมองขณะตื่นหาได้ยากกว่า

อย่างไรก็ตามความฝันนอกระยะการหลับแบบ R.E.M. กับในระยะ R.E.M. แตกต่างกันเล็กน้อยครับ

ระหว่างการหลับนอกระยะ R.E.M. คุณอาจจะฝัน แต่ความฝันจะไม่ค่อยชัดเจน และมักเกี่ยวกับสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่หรือคิดอยู่ในช่วงนั้น ในระยะการหลับเหล่านี้ คนมักบอกว่าพวกเขาฝันแต่เรื่องน่าเบื่อๆ อย่างถ้าวันนั้นคุณใช้เวลาในรถนานมาก กลางคืนคุณอาจจะฝันว่าขับรถไปตามถนน แล้วหยุดตามแยกไฟแดง อาจจะดูน่าเบื่อ... ก็น่าเบื่อจริงๆนั่นแหละ แต่สิ่งนี้ก็มีประโยชน์กับสมองครับ มันเป็นการตอกย้ำตัวเองในสิ่งที่คุณรู้อยู่แล้ว เช่น คุณควรจะหยุดรถเมื่อเจอไฟแดง ดังนั้นความฝันในการหลับนอกระยะ R.E.M. จึงเป็นการตอกย้ำความเชื่อมโยงที่มีอยู่แล้ว

ส่วนความฝันในระยะ R.E.M. เราสามารถทดสอบความรู้นั้นได้ในสภาพแวดล้อมที่เหมือนความเป็นจริงมาก มันเหมือนสมองเรากำลังทำการทดสอบเสมือนจริง (simulation) นั่นเองครับ สมมุติว่าวันนั้นทั้งวันคุณขับรถทางไกลไปบ้านคุณปู่คุณย่า ในการหลับนอกระยะ R.E.M. คุณจะฝันน่าเบื่ออยู่ 20 นาทีว่าขับรถไปหยุดตามไฟแดงไป แต่ระหว่างการหลับระยะ R.E.M. สมองอาจลองสั่งให้คุณขับรถบดถนนผ่านถนนในแมนฮัตตันทั้งๆที่นั่งอยู่เบาะหลังก็ได้ ความฝันใน R.E.M. อาจจะเหมือนจริงมากและอาจทำให้คุณเครียด แต่นั่นเป็นส่วนหนึ่งของมันครับ ความฝันที่เหมือนจริงในระยะ R.E.M. เป็นโอกาสให้เราได้ลองอะไรยากๆได้อย่างปลอดภัย

เพราะสมองเราไม่ได้อยากได้เพื่อนใหม่ แต่มันอยากเอาชนะ!

จุดประสงค์ในแง่วิวัฒนาการของความฝันก็เช่นเดียวกับจุดประสงค์แง่วิวัฒนาการของสิ่งอื่นๆ ที่เราทำ นั่นคือทำให้เราเป็นมนุษย์ที่ดีขึ้นในวันพรุ่งนี้

ในความฝันระยะ R.E.M. สมองเรากำลังพยายามหาประสบการณ์จากอนาคต และทดสอบความเป็นไปได้ เพราะฉะนั้น คุณอาจจะได้จุ๊บกับครูสอนเลขตอน ม.1 บนเรือยอร์ชของเจซี ขณะที่เขาใส่ชุดกล้วยอยู่ มันจะเป็นไรไปล่ะ มันหมายถึงจิตใต้สำนึกของคุณอยากจะจุ๊บกับครูเลขตอน ม.1 จริงๆเหรอ อาจจะนะ แต่ก็ไม่จำเป็นว่าใช่ แล้วชุดกล้วยนั่นเกี่ยวกับอวัยวะเพศชายหรือเปล่า ผมก็ไม่รู้หรอกผมไม่ใช่ฟรอยด์ซะหน่อย สิ่งสำคัญก็คือ ในความฝันระยะ R.E.M. คุณสามารถทดลองมีประสบการณ์แบบนั้นได้โดยไม่มีผลเสียตามมา

ประโยชน์ของความฝันระยะ R.E.M. คือมันช่วยให้เราทำความเข้าใจกับอารมณ์ที่สมองตอนตื่นสุดทึ่มของเรารับไม่ได้

ถึงแม้เนื้อหาความฝันของเราอาจจะประหลาด แต่อารมณ์ความรู้สึกในนั้นเป็นจริง จำได้ไหมครับว่าสมองตอนฝันของคุณมีหน้าที่รับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตคุณ ดังนั้น ถ้าในฝันคุณรู้สึกโกรธแฟนคุณมากๆ ก็มีโอกาสสูงที่คุณกำลังโกรธเขา หรือคนใกล้ชิดอยู่จริงๆ เรื่องราวที่สมองคุณสร้างขึ้น โดยพื้นฐานแล้วเป็นการอธิบายความรู้สึกของเรา เหมือนเป็นการดึงความรู้สึกแย่ๆออกไป ทำให้เรารับมือกับมันได้ดีขึ้น

มีคนบางคนไม่สามารถเข้าสู่การนอนระยะ R.E.M. ได้ และพวกเขามักจะมีปัญหาทางจิตในรูปแบบอื่น ความฝันจึงเป็นการช่วยบรรเทาความหนักหน่วงของประสบการณ์ชีวิต อารมณ์ความรู้สึก และความทรงจำของเรา เราจะได้ไม่บ้าตายไปซะก่อน แต่ถ้าผลที่ออกมาทำให้จิตรู้สำนึกของคุณรู้สึกแปลๆบ้างล่ะก็... มันก็ช่วยไม่ได้นะ

ไหนๆก็พูดถึงความฝันแปลกๆ กับ R.E.M. กันแล้ว มีหลายคนอยากรู้ด้วยว่า “การฝันรู้ตัว” (lucid dream) คืออะไร มันคือเวลาที่คุณรู้ตัวอยู่ว่าฝัน และสามารถกำหนดเรื่องราวความฝันได้ครับ เนื่องจาก R.E.M. เป็นเหมือนการทดสอบเสมือนจริงของสมอง การฝันรู้ตัวจึงคล้ายกับการทดสอบเสมือนจริงที่ยอมให้ส่วนหนึ่งของสมองคุณร่วมสนุกไปด้วย

เราทุกคนน่าจะเคยฝันรู้ตัวกันอย่างน้อยก็หนึ่งครั้ง แต่ทุกๆ 1 ใน 10 คนจะฝันรู้ตัวกันเป็นประจำ คนที่ฝันรู้ตัวได้บางคนยังสามารถสื่อสารกับนักวิจัยที่ศึกษาพวกเขาอยู่ผ่านท่าทางอย่างการกลอกลูกตาหรือการบีบมือได้ด้วย แต่สิ่งที่แยกการฝันรู้ตัวกับการหลับแบบ R.E.M. นั้นก็คือกลไกการทำงานของสมองนั่นเองครับ

ในการหลับนอกระยะ R.E.M. สมองส่วน cerebral cortex หรือส่วนเนื้อสีเทา (grey matter) จะสูญเสียความสามารถในการเชื่อมโยงกับส่วนอื่นๆของสมอง และนั่นคงเป็นเหตุผลว่าทำไมความฝันในช่วงนั้นมักจะน่าเบื่อและไม่ค่อยซับซ้อน

แต่เมื่อผู้นอนหลับเข้าสู่ระยะ R.E.M. ส่วน cortex ก็จะทำงานขึ้นอีกครั้งและเริ่มสื่อสารกับส่วนอื่นๆของสมอง ยกเว้นกับส่วนเล็กๆส่วนหนึ่งใน cortex ที่เรียกว่า dorsolateral prefrontal cortex ซึ่งเป็นส่วนเดียวที่ยังไม่กลับมาทำงาน นี่คือส่วนของสมองประมาณขมับซ้ายของคุณ ที่มีหน้าที่หลายอย่าง หนึ่งในนั้นก็คือการจดจำสถานการณ์ต่างๆ เช่น การวางแผนและคาดเดาผลที่ตามมา นี่ยังอธิบายได้ด้วยว่าทำไมฝันระยะ R.E.M. จึงมักแปลกประหลาด เพราะสมองคุณบอกไม่ได้ว่ากำลังจะเกิดอะไรต่อไป

ในการฝันรู้ตัว (lucid dreaming) ส่วน dorsolateral prefrontal cortex จะตื่นขึ้นมาทำงานด้วย นี่ทำให้เรารู้ตัวและสามารถวางเรื่องราวให้กับตัวเองได้ บางคนยังอ้างว่าการฝันรู้ตัวสามารถช่วยบรรเทาการฝันร้ายซ้ำๆได้ และยังช่วยเรื่องโรคซึมเศร้าและอาการวิตกกังวลได้ด้วย อย่างไรก็ตาม เรื่องนั้นยังไม่ได้รับการพิสูจน์นะครับ

แต่ความฝัน ไม่ว่าจะเป็นแบบไหน ก็มีประโยชน์ทั้งนั้นและเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สกหรับการทำงานของสมองด้วย เพราะฉะนั้นถ้าคุณยังตื่นอยู่ รีบไปงีบซะเลยครับ เพราะมันดีสำหรับคุณ

ที่มา http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_youtube.php?youtube_id=609

6 คำตอบ · +6 โหวต · 0 รายการโปรด · 1,579 อ่านแล้ว

เคยทั้งฝันซ้อนฝัน..แล้วมีทั้งฝันแล้ว..ไม่นานนักก็เจอเหตุการณ์เหมือนในฝัน..

แต่ไม่ใช่แบบปุบปับ..วันรุ่งขึ้นเจอเลยยังไม่เคย..อารมณ์เดจาวู..ประมาณ..เอ้า..เหมือนเคยเห็นนี่นา...

+4 โหวต · 10 ตอบกลับ

มีเซนต์นะเนี่ยะ..เหมือนกะเกดเลย..แต่เกดเยอะกว่า...มันขึ้นอยู่กับเราใส่ใจกะมันมากหรือน้อยไปหรือป่าวก็เท่านั้น.. ผมไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่..กลางคืนเดินอยู่ในห้องเห็นบางหรือป่าวก็ไม่รู้.. วิญญาญเค้าคงไม่รู้หรอกว่าผมสายตาสั้นมองไม่เห็น..เหอๆๆ...

+1 โหวต

เรื่องเซนต์ยอมรับว่ามี แต่พวก ผีๆ ไม่ชอบ ส่วนมากเห็นสถานที่ ส่วนใหญ่เป็นวัด แต่ผีๆ ไม่เคย แต่เป็นคนกลัวผีมากแต่ก็ไม่เคยเจอและไม่อยากเจอ กลัวมากหนังผีภาพผี หลอนๆๆ ไม่ดูเลย

+0 โหวต

พวกกลัวผี..ส่วนมากจะชอบดูหนังผีกัน แต่ผมไม่ชอบ..ดูแล้วอึดอัด..กลัวมันทำไม..ยิ่งเรื่องจูออนเนี่ยะ..ลุกเตะแม่ม..กลัวทำไม... เลยฝันว่าเตะผีบ่อยๆ..เคยฝันเห็นผีกระสือมาหน้าบ้าน..วิ่งไล่ออกไปเตะเลย..ฮาดี..ฝันนะเนี่ยะ.. ครั้งที่แล้วที่เห็นอยู่ปลายเตียงก็เห็นแบบแว่บๆ..แต่ไม่น่าจะเพราะตาลาย..อันนี้ไม่ได้ฝัน.. ที่ห้องที่อยู่ปัจจุบันนี่แหละ..แต่ช่วงนี้ไม่ค่อยเจอละ..

+0 โหวต

ไม่ชอบเลย หนังผี ฟังเรื่องผี หรือพวก ภาพหลอนๆๆ บอกเลยว่าไม่ชอบ แต่แบบลิงกังไม่เคยเจอนะ กลัวมากแบบนั้น ส่วนมากจะฝันนะที่เห็น หรือครึ่งหลับครึ่งตื่นจะไปทีแปลกๆๆ แล้วพยายามกลับมาก แต่เหมือนตื่นไม่ได้นี่แหละแปลก ที่แปลกอีกเรื่องคือ มีหน้าคนติดอยู่ในความทรงจำเราคน แต่นั้นเอง สงสัย กินเยอะอย่างแม่ว่า มั้ง 555

+1 โหวต

ขอบคุณสำหรับความรู้ที่นำมาแบ่งปันกันครับ คุณเมทิน กว่าจะอ่านจบ เล่นเอาเหนื่อยเลยครับ ๕๕๕

ก่อหน้านี้ผมรู้จักแค่ R.E.M. ที่เป็นวงดนตรี แค่นั้นเองครับ อิอิ

ส่วนเรื่องการฝันถึงเหตุการณ์เดิม สถานที่เดิม ผมก็เคยเจอมาบ้างครับ เช่น ฝันว่าไปเรียนต่อปริญญาโท

ท้ังๆที่ผมไม่ได้เรียนจริงๆ บางครั้งก็ฝันว่าต้องรีบไปสอบด้วย เหนื่อยเลยครับ ๕๕๕ แต่ผมอยากออกแบบ

ความฝันหลายๆชั้น แบบในหนังเรื่อง Inception มากกว่าครับ อิอิ

+4 โหวต · 0 ตอบกลับ

อ่านแล้ว กลับไปนอนฝันต่อ เรื่อง เดจาวู เคยมีบ้าง แต่ส่วนมากเป็นสถานที่มากกว่า เหมือนเคยมาแล้วในฝัน แต่ได้ไปจริงๆๆ หลังจากนั้นไม่นาน แต่แปลกที่จำความฝันตัวเองไม่ค่อยได้ ส่วนใหญ่ถ้าเจอเหตุการณ์ หรือสถานที่ จะรู้สึกว่าเคยมาแล้วในฝัน และอีกอย่าง ดวงตาคน แปลกๆๆ เหมือนเคยเห็นแต่นึกไม่บอก บอกใครไม่ได้ สงสัยกินเยอะเกินไป เพ้อไปเรื่อย ฮ่าๆๆๆ

+2 โหวต · 0 ตอบกลับ

ของผมฝันค้างบ่อยป่านนี้ไม่รู้ว่าลอยตอดลมบนอยู่ที่ไหนแล้วครับ

+1 โหวต · 0 ตอบกลับ

ตอนที่ศึกษาการทำงานของสมอง ก็ได้รู้ว่าสมองส่วนไหนทำอะไร

เนื้อหาและ แนวคิดของคำถามนี้น่าศึกษาดี

ส่วนตัวมีเรื่องฝันแล้วเป็นจริง หรือคล้ายว่าเรื่องที่ฝันคิดเหมือนว่าจริง ทั่งๆที่ฝันแล้วฝันอีก

แต่เคยฝันเห็นคนเดิมๆ ซ้ำๆ สถานที่ซ้ำๆ แต่ไม่บ่อย ก็เลยพยายามค้นหาทางเหตุผลก่อน

สงสัยเรามีจิตสำนึก ใต้สำนึกแบบนั้น ยามฝันมันเหมือนว่า เราเป็นคนแบบไหนในชีวิตจริงกันแน่

+0 โหวต · 0 ตอบกลับ

อย่าเพิ่งดีใจครับ มันคืออาการเริ่มต้นของโรคลมชักแบบเงียบครับ..

ตอนแรกผมรู้สึกดีใจกับตัวเองที่มีความรู้สึกแบบนี้ตอนผมอายุประมาณ 15 ผมรู้สึกแบบนี้ ปีละประมาณ 3-4 ครั้ง และมันก็เริ่มบ่อยขึ้น และอาการก็ค่อยๆ เปลี่ยนจากรู้สึกว่าเหตุการณ์เคยผ่านมาแล้วกลายเป็นว่า รู้สึกว่าเหตุการเคยผ่านมาแล้วร่วมกับเริ่มรู้สึกว่าลืมชั่วขณะแต่รู้สึกตัวและงงว่าตัวเองกำลังอยู่ที่ไหนและทำอะไรอยู่ขณะเกิดอาการและเริ่มมีความถี่ของอาการบ่อยขึ้นเรื่อยๆ เป็นเดือนละประมาณ 1 ครั้ง จนกระทั่งผมไปเข้าพบแพทย์ แต่แพทย์แจ้งว่าผมเป็นโรค Panic ผมก็ทานยามาอีกประมาณ 5 ปี แต่ไม่รู้สึกดีขึ้น จนกระทั่งอาการผมเปลี่ยนจากที่เคยเห็นเหตุการณ์นี้ผ่านมาแล้วและลืมชั่วขณะกลายเป็นว่าเวลาเกิดอาการจะไม่รู้สึกตัว จนผมขับรถชนบนถนน 2 ครั้ง ขณะเกิดอาการ อาการจะเกิดประมาณ 10-15 วินาที จนความถี่ของอาการบ่อยขึ้นเป็นสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง จนผมพยายามหาคำตอบด้วยตัวเองไปพร้อมกับการรักษา จนผมต้องยอมเปลี่ยนสถานที่รักษา และไล่เรียงเหตุการณ์ทั้งหมดให้หมอท่านใหม่ฟัง จนผมเพิ่งรู้ว่าผมเป็นโรคลมชักแบบเงียบ ไม่ใช่โรค Panic ซึ่งผมรักษาผิดมาถึง 8 ปี ปัจจุบัน ผมรับการรักษาโรคนี้มาประมาณ 1ปีแล้ว อาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ความถี่ของอาการน้อยลง และเปลี่ยนจากขณะเกิดอาการที่ไม่รู้สึกตัวกลับมาเริ้มรู้สึกตัวแล้วครับ.... เชื่อผม ..

การเห็นว่าเหตุการณ์ผ่านมาแล้ว คือการทำงานของสมองที่ผิดปกติครับ ไม่ใช่ เดจาวู...

+0 โหวต · 0 ตอบกลับ

คำตอบของคุณ

(ไม่บังคับ)

เพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีการตอบกลับ