คำถาม
ถามคำถาม

ประโยชน์ของน้ำมันปลา 15 ข้อ ! | คำเตือนและข้อควรรู้ 20 ข้อ!

น้ำมันปลา น้ำมันปลา คืออะไร? น้ํามันปลา หรือ Fish Oil คือส่วนที่สกัดมาจากจากส่วนของเนื้อ หนัง หัว หาง ของปลาโดยเฉพาะปลาในเขตหนาว ซึ่งในน้ำปลาจะมีกรดไขมันอยู่หลายชนิด น้ำมันปลาประกอบด้วยประกอบด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 และกรดไขมันโอเมก้า-6 สำหรับกรดไขมันโอเมก้า-3 นั้นจะแบ่งออกเป็น EPA และ DHA เป็นหลักซึ่งเป็นกรดไขมันที่มีความจำเป็นต่อร่างกายอย่างมาก เพราะว่าร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาเองได้ และต้องได้รับจากสารอาหารเท่านั้น และสำหรับกรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า-6 นั้นก็มีความสำคัญไม่แพ้กันเพราะช่วยลดไขมันได้เลือดได้ นอกจากปลาแล้วยังพบมากในน้ำมันพืชหลายชนิด เช่น น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น น้ํามันปลา จากแหล่งธรรมชาติที่ดีควรมาจากปลาทะเล อย่างเช่น ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาซาบะ ปลาเฮอร์ริ่ง ปลาแมคเคอเรล ปลาแงโชวี่ ปลาไวท์ฟิช ปลาบลูฟิช ปลาชอคฟิช ปลานิลทะเล ปลาดุกทะเล หอยกาบ หอยนางรม หอยพัด กุ้ง ปลาหมึก และสำหรับปลาอื่นๆเผื่อไว้เป็นตัวเลือก เช่น ปลาตาเดียว ปามาฮีมาฮี ปลากะพงแดง ปลาเทราต์ (ปลอดภัยสำหรับผู้ชายและ ผู้หญิงที่ไม่ได้อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ และรับประทานได้ไม่เกินสัปดาห์ละครั้ง) สำหรับปลามาฮีมาฮีและกะพงแดงจะมีระดับสารปรอทในระดับปานกลาง ควรจำกัดการรับประทานในเด็กและหญิงวัยเจริญพันธุ์ ให้รับประทานเพียงเดือนละครั้งเท่านั้น ปลาที่เลี้ยงในบ่อนั้นจะมีกรดไขมันโอเมก้า-6 มากกว่าโอเมก้า-3 และน้ำมันปลาทะเลเข้มข้นประมาณ 10 แคปซูลจะมี EPA อยู่ประมาณ 1,800 มิลลิกรัม (แซลมอน 4 ออนซ์จะมี EPA ประมาณ 1,000 มิลลิกรัม) แล้วโอเมก้า-3 กับโอเมก้า-6 มันมีความแตกต่างกันยังไงละ? ตอบ โอเมก้า-3 เท่านั้นที่ลดได้ทั้งระดับไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอล ประโยชน์น้ำมันปลา ช่วยบำรุงสุขภาพผิว เส้นผม และเล็บให้มีสุขภาพดี น้ํามันปลาช่วยบำรุงประสาทและสมอง ช่วยเพิ่มความจำและความสามารถในการเรียนรู้ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกรีเซอไรด์ที่เป็นอันตราย ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจวายเฉียบพลัน ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดเส้นเลือดในสมองแตก น้ํามันปลาช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัว ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดในกระแสเลือด เพราะไปลดความหนืดของเกล็ดเลือด และลดปริมาณสารไฟบรินในเลือด ช่วยรักษาและลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งเต้านม ช่วยบรรเทาอาการคันและแห้งของโรคสะเก็ดเงิน ช่วยลดความถี่และความรุนแรงของโรคปวดศีรษะไมเกรน น้ํามันปลาช่วยต่อต้านผลร้ายจากสารโพรสตาแกลนดินซึ่งมีส่วนไปลดภูมิต้านทานของโรคและไปเพิ่มการเจริญเติบโตของเนื้องอก ช่วยบรรเทาอาการอักเสบ ปวด บวมของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ช่วยเพิ่มพัฒนาการในด้านสายตาและสมองของทารก ช่วยป้องกันการเกิดภาวะสมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ จบแล้วประโยชน์ของน้ำมันปลา น้ํามันปลา คำเตือน คำแนะนำ และข้อควรรู้ การรับประทานเป็นอาหารเสริมเพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ควรรับประทานวันละ 1,000 มิลลิกรัมหลังอาหาร การรับประทานเพื่อรักษาโรค ควรรับประทานวันละ 3,000 มิลลิกรัม หรือตามคำแนะนำของแพทย์ การเลือกซื้ออาหารเสริมน้ำมันปลานั้น ควรจะดูที่ปริมาณ DHA และ EPA เป็นหลักโดยควรมีมากกว่า 20% ปริมาณทั้งหมด อัตราส่วนของ DHA : EPA นั้นควรจะเป็น 1:2 หรือ 2:3 เพื่อการออกฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ ควรเลือกปลาที่มีแหล่งที่มาจากธรรมชาติ และมีการตรวจสอบถึงความเข้มข้นของกรดไขมัน และต้องปราศจากสารปนเปื้อนที่อาจจะติดมาด้วย ปลาที่ควรหลีกเลี่ยง ปลาฉลาม ปลาอินทรี ปลาไทล์ฟิช ปลากระโทงแทงดาบ ปลาทูน่า ปลากระพง ปลาฮาลิบัต ปลามาลิน ปลาวอลล์อาย ปลาจำพวกกะพงปากกว้าง ปลาเก๋า ปลาสำลีน้ำลึก เป็นต้น แล้วแบบนี้ปลาทูน่ากระป๋องก็มีสารปรอทปนเปื้อนสูงอะสิ? แล้วมันจะปลอดภัยไหมนะ? ตอบ ตามมาตรฐานขององค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาในปัจจุบันระบุว่า การบริโภคทูน่ากระป๋องสัปดาห์ละ 2 กระป๋องถือว่าปลอดภัยสำหรับเด็กและหญิงวัยเจริญพันธุ์ แต่องค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมสหรัฐอเมริกาแนะนำให้รับประทานน้อยกว่านั้น ควรระวังชาวประมงที่ไร้ศีลธรรมบางคนใช้เนื้อฉลามซึ่งมีสารปรอทเจือปนสูงมาทำเทียมหอยพัด โดย”หอยพัด”ของจริงจะต้องมีก้านเล็กๆที่ปลายด้านหนึ่ง มีความเป็นไปได้ที่อาจจะมีสารพิษหรือโลหะตกค้างในปลา พิษจากสารปรอททำให้ความจำเสื่อม เกิดโรคซึมเศร้า เส้นประสาทถูกทำลาย เป็นโรคหัวใจ การพิการแต่กำเนิด และอื่นๆอีกมากมาย แม้จะรับประทานน้ำมันปลาแล้ว ก็ควรจะรับประทานอาหารอื่นๆให้ถูกหลักโภชนาการด้วยเพราะถือเป็นพื้นฐานสำคัญในการรักษาภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง หากคุณต้องลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด คุณควรจะรับประทานอาหารอื่นๆที่มีคอเลสเตอรอลไม่เกินวันละ 300 มิลลิกรัมด้วย เช่น เนื้อสัตว์ ไข่แดง ควรจะหลีกเลี่ยง และควรหลีกเลี่ยง อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น กะทิ ไขมันจากเนื้อสัตว์ หนังสัตว์ เป็นต้น หากคุณไม่ชอบรับประทานปลาหรือไม่สามารถรับประทานปลาได้อย่างสม่ำเสมอ อาจจะเลือกรับประทานอาหารเสริมประเภทน้ำมันปลาหรือ Fish Oil แทนก็ได้ การรับประทานอาหารเสริมโอเมก้า-3 ในปริมาณสูงอาจทำให้บางคนเกิดอาการฟกช้ำ เลือดออกได้ง่ายจากอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย ดังนั้นผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดอาการฟกช้ำหรือเลือดออกง่าย ควรหลีกเลี่ยงอาหารเสริมประเภทนี้ การรับประทานโอเมก้า-3 ร่วมกับวิตามินอีในปริมาณที่สูงมากเกินไปอาจส่งผลให้มีเลือดออกภายในได้ ผู้ที่กำลังรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด (เช่น คูมาดิน เฮปาริน) ไม่ควรรับประทานโอเมก้า-3 หรือควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน ผู้ที่มีภาวะความดันต่ำ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานน้ำปลา เพราะน้ำปลาจะลดความดันของคุณให้ต่ำลงไปอีก แม้ว่าปลาบางชนิดจะมีโอเมก้า-3 ในปริมาณมาก มันไม่ได้หมายความว่าเราควรจะรับประทานปลาชนิดนั้นในปริมาณมาก ปลาใหญ่ที่กินปลาอื่นเป็นอาหารจะมีสารปรอทสะสมในปริมาณสูง และองค์การอาหารและยา และองค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกายังไม่สามารถตกลงกันได้ว่าระดับที่ปลอดภัยของสารปรอทในปลาควรจะเป็นเท่าใด แต่ได้ระบุรายชื่อปลาที่เด็กและ หญิงตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยง (สำหรับความคิดผมทุกคนที่เป็นห่วงเรื่องสุขภาพควรจะหลีกเลี่ยงการรับประทานน้ำมันปลาจากปลาใหญ่) การรับประทานน้ํามันปลาแม้จะช่วยลดระดับของไตรกลีเซอร์ไรด์ได้ก็จริง เพราะไปช่วยเพิ่มระดับของ HDL Cholesterol ซึ่งเป็นไขมันที่ดี แต่ในขณะเดียวกันก็ไปเพิ่มระดับ ไขมันร้าย LDL Cholesterol ให้สูงขึ้นตามมาด้วยเช่นกัน ดังนั้นการรับประทานน้ํามันปลาอย่างเดียวจึงไม่ส่งผลดีโดยรวมในเรื่องของการลดไขมันในเลือดเท่าไหร่ ทั้งนี้ควรจะรักษาด้วยวิธีอื่นๆไปด้วย การรับประทานน้ำมันปลาแม้จะให้ผลดีต่อการลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตัน แต่มันก็อาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดในสมองแตกได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นการรับประทานควรจะปรึกษาแพทย์ให้แน่ใจเสียก่อนว่าควรรับประทานหรือไม่ และควรรับประทานในปริมาณเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม DHA แม้จะช่วยเสริมสร้างระบบประสาทและสมองเพื่อเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ในวัยเด็กของทารกได้ก็จริง แต่มันก็ใช้ได้สำหรับเด็กอายุประมาณ 5 ขวบเท่านั้น และจากการ ศึกษาก็พบว่ามันมีส่วนช่วยในเรื่องของความจำให้ดีขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น ดังนั้นมันจึงไม่ใช่คำตอบสำหรับทุกอย่าง ที่ถูกต้องก็คือการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่จะได้ประโยชน์ มากกว่า

อ้างอิงจาก : http://frynn.com/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2/

3 คำตอบ · +4 โหวต · 0 รายการโปรด · 22 อ่านแล้ว

พี่กินเป็นประจำทุกวัน เพื่อช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ เพราะหมอแนะนำครับ

+2 โหวต · 0 ตอบกลับ

แต่ก็ต้องดูด้วยว่า เหมาะกับเรามั้ย

ควรกินไม่เกินเท่าไหร่

แต่ก็เป็นประโยชน์ดีนะ แต่พี่คงยังไม่ยอมเสียเงินซื้อกิน

กินปลาพอ ไว้แก่กว่านี้ผลิตไม่ได้ ค่อยกิน

ใจจ้า

+2 โหวต · 8 ตอบกลับ

บางที เราจับฟรีอีก

+1 โหวต

ใช่ แต่แบบนั้นไม่เอา ซื้อกินพอ เคยไปจับปลามั้ย

+1 โหวต

ไม่ครับ ไม่ชอบ บาป

+1 โหวต

เยี่ยม เคๆ บาย

+1 โหวต

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีดีที่นำมาแบ่งปันกันครับ

+2 โหวต · 2 ตอบกลับ

คำตอบของคุณ

(ไม่บังคับ)

เพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีการตอบกลับ

คำถามที่คุณอาจจะสนใจ