คำถาม
ถามคำถาม

ความรู้เรื่อง โรค อีโบล่า

ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

ทั้งตัว ระบบโรคติดเชื้อ

อาการที่เกี่ยวข้อง :

ไข้สูง เลือดออกตามอวัยวะต่างๆ

บทนำ

โรคอีโบลา หรือโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา หรือโรคอีวีดี (Ebola หรือ Ebola virus disease /ย่อว่า EVD หรือ Ebola virus infection หรือ Ebola hemorrhagic fever) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอีโบลา (Ebola virus) ซึ่งอยู่ในกลุ่มไวรัส วงศ์ (Family) Filovirus ซึ่งเป็นไว รัสชนิดที่รุนแรงมาก ที่มักทำให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิต (ตาย)

โรคอีโบลา มักพบเกิดในประเทศแอฟริกา เช่น ซูดาน คองโก โดย อีโบลาเป็นชื่อแม่น้ำสายที่ไหลผ่านหมู่บ้านที่เกิดโรคนี้ที่อยู่ทางเหนือของประเทศคองโก แต่มีรายงานพบเชื้อไวรัสอีโบลาในจีนและฟิลิปปินส์ ที่เป็นคนละสายพันธุ์ย่อย (Species) กับที่เกิดการระบาดในแอฟริ กา ซึ่งสายพันธุ์ที่พบในเอเชียนี้ ยังไม่มีรายงานว่าทำให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิต

โรคอีโบลา มักพบเกิดกับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ไม่ค่อยพบในเด็ก โดยเฉพาะในเด็กเล็ก พบโรคได้ทั้งในผู้หญิงและในผู้ชายในอัตราส่วนใกล้เคียงกัน และเป็นโรคพบระบาดอยู่ในแอฟริ กา โดยเชื่อว่ามีสัตว์ป่าที่สำคัญ คือ ลิงชนิดต่างๆและค้างคาวชนิดกินผลไม้เป็นพาหะโรคที่สำ คัญ (พบในสัตว์อื่นได้อีก เช่น ละมั่ง เม่น สุนัข หมู) แล้วคนไปกินสัตว์ที่ติดโรค หรือสัมผัสสัตว์ที่ติดโรค ไวรัสจึงติดต่อเข้าสู่คนและก่อให้เกิดโรคนี้ขึ้น

โรคอีโบลาเกิดจากอะไร?

อีโบลา

โรคอีโบลา เกิดจากคนติดเชื้อไวรัสอีโบลา (Ebola virus) ซึ่งมี 5 สายพันธุ์ย่อยที่สามารถติดต่อในคน ได้แก่

สายพันธุ์ย่อย Bundibugyo ebolavirus (BDBV)

สายพันธุ์ย่อย Zaire ebolavirus (EBOV)

สายพันธุ์ย่อย Sudan ebolavirus (SUDV)

สายพันธุ์ย่อย Reston ebolavirus (RESTV)

สายพันธุ์ย่อย Tai Forest ebolavirus (TAFV)

ทั้งนี้ สายพันธุ์ในข้อ 1 - 3 เป็นสายพันธุ์ที่รุนแรงที่ก่อการระบาดในแอฟริกา ส่วนอีก 2 สายพันธุ์ที่เหลือยังไม่พบว่าก่อให้เกิดการระบาด และสายพันธุ์ RESTV เป็นสายพันธุ์ที่พบในจีนและฟิลิปปินส์ ที่ยังไม่เคยก่อการระบาด และยังไม่เคยเป็นเหตุให้เสียชีวิต

โรคอีโบลาติดต่อได้อย่างไร?

โรคอีโบลา สามารถติดต่อได้จาก 2 ทางคือ

ก. ติดต่อจากสัตว์ โดยการสัมผัส ตัวสัตว์ สารคัดหลั่งของสัตว์ และ/หรือ กินสัตว์ที่เป็นพาหะโรคนี้ (ดังได้กล่าวแล้วในบทนำ) และ

ข. ติดต่อจากคนสู่คน โดยการคลุกคลีใกล้ชิดสัมผัสสารคัดหลั่ง (ที่รวมถึง น้ำอสุจิ และน้ำจากช่องคลอด) ของคนที่ติดเชื้อโรคนี้ (และเชื่อว่า การติดต่ออาจเกิดได้จากการไอ จาม หัวเราะซึ่งละอองน้ำลายมีขนาดใหญ่ แต่ยังไม่มีรายงานการติดต่อทางการหายใจ) ซึ่งการติด ต่อจากคนสู่คนนี้ เป็นวิธีการที่ทำให้เกิดการระบาดได้อย่างกว้างขวางจากโรคนี้สามารถติดต่อ กันได้ง่ายและอย่างรวดเร็ว โดยที่ร่างกายไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานโรคนี้ได้

เมื่อเชื้ออีโบลาเข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะแบ่งตัวเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็วมหาศาล และแพร่ กระจายทางเลือดไปสู่ทุกเซลล์ทุกอวัยวะในร่างกายโดยเฉพาะเยื่อเมือกต่างๆและตับ รวมทั้งจะสร้างสารที่เรียกว่า Cytokine หลายชนิดที่ส่งผลให้เซลล์ต่างๆทุกอวัยวะเกิดการอักเสบอย่างรุน แรง ส่งผลให้มี ไข้สูง บวมทั้งตัว รวมทั้งร่างกายสูญเสียการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรค การติดเชื้อจึงยิ่งรุนแรงขึ้น อวัยวะต่างๆจึงเกิดการล้มเหลว เช่น ตับ ไต ปอด ม้าม ซึ่งการสูญเสียการทำงานของตับที่สร้างฮอร์โมนช่วยการแข็งตัวของเลือด เมื่อสูญเสียไป จึงเกิดภาวะเลือดออกในอวัยวะต่างๆร่วมด้วย ทั้งหมดจึงเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิต (ตาย) ในที่สุด ซึ่งโดยทั่วไป ช่วงระยะเวลาการดำเนินโรค (Course of disease) จะประมาณ 14 - 21 วัน

โรคอีโบลามีอาการอย่างไร?

โดยทั่วไประยะฟักตัวของโรคอีโบลาจะประมาณ 2 - 21 วัน โดยอาการจะคล้ายคลึงกับโรคติดเชื้อได้หลายโรค เช่น โรคไข้จับสั่น โรคไข้เลือดออก โรคไทฟอยด์ และ/หรือ การติดเชื้อในกระแสโลหิต (ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ) โดยอาการที่พบได้คือ ไข้สูงเฉียบพลัน หนาวสั่น อ่อนเพลียมาก เจ็บคอ ปวดศีรษะมาก ปวดเนื้อตัวมาก ระยะต่อจากนั้นจะมี คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย บวมทั่วตัว มีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ (เช่น ตา หู จมูก) ขึ้นผื่นเลือดออกที่ผิวหนังทั่วตัว ช็อก โคม่า และเสียชีวิตในที่สุด ซึ่งระยะเวลาตั้งแต่มีอาการจนถึงเสียชีวิต (การดำเนินโรค) จะประมาณ 14 - 21 วัน

ควรพบแพทย์เมื่อใด?

เมื่อมีอาการไข้สูง โดยเฉพาะมีประวัติเดินทางไปในถิ่นที่เป็นแหล่งเกิดโรคนี้ หรือเกิดหลังจากมีการเดินทางไปยังประเทศต่างๆ หรือหลังสัมผัสผู้ป่วย ควรรีบพบแพทย์/ไปโรงพยา บาลเสมอ

แพทย์วินิจฉัยโรคอีโบลาได้อย่างไร?

การวินิจฉัยโรคอีโบลาที่สำคัญที่สุด คือ จากประวัติการสัมผัสโรค (เพราะการย้อมเชื้อต่างๆจะใช้เวลานาน รวมไปถึงการตรวจเลือดทางด้านภูมิต้านทานคุ้มกันโรคด้วย ที่จะมีข้อจำ กัดทางเทคโนโลยี ทำให้ไม่สามารถตรวจได้ในเวลารวดเร็ว) นอกจากนั้น คือ การตรวจร่างกาย, การตรวจเลือดดูสารภูมิต้านทานและดูสารก่อภูมิต้านทานสำหรับโรคนี้ เช่น Elisa antibody capture enzyme linked immunosorbent assay, Serum neutralization test, Reverse transcriptase polymerase chain reaction (RT-PCR) assay, การตรวจสารคัดหลั่งเพื่อหาเชื้อด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดอีเล็กตรอน (Electron microscopy) และ/หรือ การเพาะเชื้อจากสารคัดหลั่ง

รักษาโรคอีโบลาอย่างไร?

ปัจจุบัน ยังไม่มีตัวยาที่ใช้รักษาโรคอีโบลา (ยาฆ่า/ยาต้านไวรัส) ดังนั้นการรักษา จึงเป็นการรักษาประคับประคองตามอาการ แต่เนื่องจากเป็นโรคที่รุนแรง การรักษาจึงเป็นการรักษาในโรงพยาบาล (มีการแยกผู้ป่วย) เช่น การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ การให้ออกซิเจน การให้ยาแก้ปวด ยาลดไข้ เป็นต้น

โรคอีโบลามีผลข้างเคียงอย่างไร?

ผลข้างเคียงจากโรคอีโบลา คือ การล้มเหลวของอวัยวะสำคัญต่างๆ เช่น ตับ ไต ปอด ที่ส่งผลให้เสียชีวิต (ตาย) ได้ในที่สุด ส่วนผู้รอดชีวิตมักไม่สามารถกลับมาแข็งแรงได้เหมือนเดิม ยังคงมีร่างกายที่อ่อนเพลีย และการรับความรู้สึกสัมผัสต่างๆมักลดน้อยลง

โรคอีโบลามีการพยากรณ์โรคอย่างไร?

โดยทั่วไป โรคอีโบลา เป็นโรคที่มีการพยากรณ์โรคที่เลว อัตราการเสียชีวิตประมาณ 30 - 90% ขึ้นกับชนิดของเชื้อ โดยถ้าเป็นเชื้อที่ทำให้เกิดการระบาด อัตราเสียชีวิตมักสูงถึง 90 -95% และผู้ที่รอดชีวิต สามารถติดเชื้อได้ใหม่ เพราะร่างกายไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานโรคนี้ได้

ดูแลตนเองอย่างไร? ควรพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อไร?

การดูแลตนเอง เมื่อรอดชีวิตจากโรคนี้ คือ

การรักษาสุขภาพอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ)

การกินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่

การออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวันตามควรกับสุขภาพ

การพบแพทย์ตามนัด และ

การป้องกันไม่ให้ตนเองกลับไปสัมผัสโรคอีก

การพบแพทย์ก่อนนัด: ในผู้ที่รอดชีวิตและกลับบ้านแล้ว ถ้ามีอาการกลับมาใหม่ หรือมีอาการผิดปกติไปจากเดิม หรือกังวลในอาการ ควรพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลก่อนนัดเสมอ

ป้องกันโรคอีโบลาอย่างไร?

ปัจจุบัน ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคอีโบลาทั้งในสัตว์และในคน ดังนั้น การป้องกันจึงขึ้นกับพฤติกรรมของเราเอง ที่สำคัญคือ การหลีกเลี่ยงการติดต่อจากสัตว์ และหลีกเลี่ยงการติดต่อระหว่างคนสู่คน

ก. การหลีกเลี่ยงการติดต่อจากสัตว์ คือ ไม่กินสัตว์ที่อาจเป็นพาหะโรค โดยเฉพาะปรุงไม่สุกทั่วถึง รวมทั้งการไม่เข้าไปในถิ่นที่มีสัตว์ที่เป็นพาหะโรคอาศัยอยู่ และยังรวมถึงการไม่สัม ผัสสารคัดหลั่ง และ/หรือ ซากสัตว์ต่างๆ นอกจากนั้นถ้าพบสัตว์ตายหรือซากสัตว์ตาย ที่ไม่ทราบสาเหตุ หรือที่สงสัยการตายจากติดโรค ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้มาดูแลเสมอ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค

ข. ส่วนการหลีกเลี่ยงการติดต่อจากคนสู่คน คือ การหลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดผู้ป่วย ถ้าต้องดูแลผู้ป่วย เช่น คนในครอบครัว หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาโรคนี้ จะต้องเคร่งครัดในการรักษากฎระเบียบข้อปฏิบัติต่างๆในการดูแลผู้ป่วย และในการดูแลตนเอง เช่น ความสะอาดของเสื้อผ้า ปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน ที่นอน ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว เครื่องใช้ส่วนตัวต่างๆ การใช้ถุงมือ การใช้หน้ากากอนามัย การล้างมือ การรักษาความสะอาด จาน ชาม ช้อน แก้วน้ำ การดูแลสารคัดหลั่งของผู้ป่วย ที่รวมถึง เหงื่อ แผล น้ำมูก น้ำลาย อา เจียน การไอ จาม ปัสสาวะ และอุจจาระผู้ป่วย

3 คำตอบ · +1 โหวต · 0 รายการโปรด · 18 อ่านแล้ว

ผมจะเก็บข้อมูลนี้ไว้อ่านอย่างละเอียดในภายหลัง

ขอบคุณที่หาสิ่งที่น่าสนใจมาให้อ่านกันครับ

+0 โหวต · 0 ตอบกลับ

ใจจ้า ต้องศึกษาดีๆเนอะ

+1 โหวต · 2 ตอบกลับ

คร๊าบ พี่เกด

+1 โหวต

อะเคแบงค์

+1 โหวต

คำตอบของคุณ

(ไม่บังคับ)

เพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีการตอบกลับ

คำถามที่คุณอาจจะสนใจ