ระหว่าง ปรัชญา กับ ศาสนา คุณเลือกสิ่งไหน?

สำหรับผม ผมนับถือศาสนาพุทธ แต่ก็ไม่ได้ยึดหลักจริงจัง

ผมเห็นว่าการใช้ชีวิต ตามหลักการใช้ชีวิตที่ตัวเองตั้งขึ้นมา เข้ากับผมมากกว่า

ผมจึงคิดว่า ความยืดหยุ่นของแนวคิดตามหลักปรัชญา เข้ากับผมมากกว่า

แต่ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลนะครับ ว่าชอบแนวทางไหนมากกว่ากัน

4 คำตอบ · +5 โหวต · 1 รายการโปรด · 192 อ่านแล้ว

อยู่ตรงกลางระหว่างปรัชญา และ ศาสนา เพียงแต่ในความรู้สึก ปรัชญา เป็นรูปธรรม มาากกว่า ศาสนา ... ตหสต.

+3 โหวต · 0 ตอบกลับ

พุทธศาสนา เป็นเรื่องของ ปรัชญา

แก่นแท้ของศาสนา ใช้หลัก ปรัญชา นะเราคิดเช่นนั้น

+3 โหวต · 0 ตอบกลับ

สำหรับผม ไม่ขอเลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่จะขอทั้ง 2 อย่าง เอามาประยุกต์ใช้ในชีวิตของตนเอง

เพราะมันดูสมเหตุสมผลทั้งสิ้น...ในลักษณะที่เป็นกลาง...คือ..

ปรัชญาเป็นเรื่องของการทำความเข้าใจธรรมชาติและโครงสร้างความจริงอย่างวิพากษ์วิจารณ์

ส่วนศาสนาเป็นเรื่องของการเข้าถึงความจริงนั้นโดยตรง จึงเน้นให้ลงมือกระทำหรือปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี

ปรัชญาเป็นเรื่องของการใช้ความคิด เหตุผลหรือความรอบรู้อย่างกว้างขวาง

ส่วนศาสนาก้าวไกลไปกว่านั้น คือใช้ความรู้คิด ความรู้สึก และความตั้งใจ อันเป็นการศึกษาภาวะทั้งหมดของมนุษย์

ในทางความคิด มนุษย์ก็เสาะแสวงหามาตรฐานความจริง ในความรู้สึกหรืออารมณ์ เขาเสาะแสวงหาความงาม

และในกิจกรรม เขาพยายามที่จะบรรลุความดีในความสำนึกทางศาสนา

มนุษย์มีความรู้สึกว่าเขากำลังสัมผัสอยู่กับอุดมคติหรือคุณค่าต่างๆอันมีอยู่แล้วเป็นนิรันดร์

นอกจากนี้ปรัชญาต้องการที่จะเข้าใจโลกและชีวิตตามความเป็นจริง

แต่ศาสนาเน้นอารมณ์อย่างเต็มที่ ความกลัว ความศรัทธา ความผิดหวัง ความสมหวัง

ซึ่งเหล่านี้เป็นลักษณะทั่วไปของศาสนา

ส่วนปรัชญามีลักษณะใจกว้าง ยับยั้งชั่งใจ สงสัยและใช้เหตุผล

แม้จะมีความแตกต่างกันดังกล่าว ปรัชญาและศาสนาก็ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน

ศาสนาต้องอาศัยปรัชญาเพื่อความมั่นคงและก้าวหน้าในทฤษฎีคำสอน

ฝ่ายปรัชญาก็ต้องอาศัยศาสนาเป็นจุดเริ่มต้น คือความอยากรู้อยากเห็นถูกกระตุ้นโดยศาสนา

กล่าวคือความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในการดำรงชีวิตไงล่ะครับ...

+3 โหวต · 3 ตอบกลับ

คำตอบของหลานทุกคำตอบ ล้วนมีสาระ และผู้อ่านได้รับความรู้ไปเต็มๆ

ลุงขอนับถือ

+1 โหวต

แสดงว่า ทั้งศาสนา และ ปรัชญา สอดคล้องกัน

เพราะใช้หาคำตอบได้อย่างมีเหตุผล

+1 โหวต

ขอบคุณครับ ลุงสบายใจ

ใช่ครับ พลังความสุข

มันเป็นอะไรที่สอดคล้องกัน มาตั้งแต่บรรพกาลแล้วจริงๆครับ อยากรู้จริงๆ ก็ลองพิสูจน์กันได้เลย

เพราะศาสนากับปรัชญา มันมาควบคู่กันเสมอ และทั้งสองอย่างนั้น มันคือความจริงในชีวิต

ขนาดนักปรัชญาเองหลายๆท่าน ยังมีศาสนาที่ตนเองนับถือเลยครับ

ซึ่งพวกเขานำศาสนาและปรัชญามาประยุกต์ใช้เข้าหากันได้ครับ

ไม่งั้นชีวิตพวกเขา คงมีแต่ศัตรูและปัญหาอย่างแน่นอน

+1 โหวต

ในชีวิตจริงของแต่ละคนเราทุกคนใช้ทั้งปรัชญาและศาสนา ในการดำเนินชีวิต

ปรัชญาและศาสนา เปรียบเสมือนเป็นต้นไม้ ต้นเดียวกัน แต่ละกิ่ง แต่ละก้าน แต่ละใบ ต่างทำหน้าที่ของตัวเองไป แต่ก็รวมๆ กันแล้ว ก็คือการดำรงอยู่ของต้นไม้ต้นนั้นๆ ซึ่งจะต้องอาศัยทุกๆ ส่วนที่ประกอบกันเป็นต้นไม้ต้นนั้น

ปรัชญา เป็นความรู้ เป็นความเข้าใจในธรรมชาติ

ศาสนานั้นเน้นการปฏิบัติเป็นหัวใจของศาสนา

แต่เเมื่อนำทั้ง ปรัชญา และศาสนามารวมกัน

จะเกิดคำว่า "เหตุผล" ซึ่งจะนำไปสู่ "ปัญญา"

เมื่อมีปัญญา ก็จะเห็นหนทางแก้ทุกข์ และสามารถนำพาชีวิตไปให้รอด..และเกิดสุขได้

เห็นไหมครับว่า มันแยกไม่ออกหรอก

คนส่วนใหญ่ที่แสวงหาความสุขต้องใช้ทั้งปรัชญาและศาสนา

เพื่อมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ดีและนำพาวิถีชีวิตของตนให้ดีขึ้น

+2 โหวต · 2 ตอบกลับ

สรุปว่า นำมารวมกัน เพื่อการวิเคราะห์หาคำตอบ ที่ถูกต้องสินะครับ

+0 โหวต

ถูกต้องครับหลาน เพราะถ้านึกถึง ขงจื้อ เล่าจื้อ พุทธศาสนา นั้น ล้วนนำปรัชญาและพิธีกรรมความเชื่อ นำมารวมกันเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตครับ

จริงอยู่ที่คำว่าปรัชญา และศาสนาหรือพิธีกรรม นั้นความหมายย่อมแตกต่างกัน

พิธีกรรมต่างๆ หรือศาสนาในสมัยโบราณเกิดมาก่อนในโลกนี้ นานไป มนุษย์เรามีความคิดและใฝ่หาความรู้ จนเกิดปัญญาและเรียกความคิดดีๆ นั้นว่า ปรัชญา

หรืออีกนัยหนึ่งนะหลาน

ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่พิสูจน์ได้ หรือจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ศาสนาพุทธเป็นวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์หาความจริงจากคำสั่งสอนของพุทธองค์ได้

การเกิดความคิดในสิ่งดี โดยอาศัยความเข้าใจในธรรมชาติหรือชีวิต สิ่งนั้นปรัชญา

การเกิดความรับผิดชอบชั่วดี เมื่อทำผิดก็รู้ เมื่อทำดีก็รู้

...เรารู้ได้อย่างไรล่ะ เพราะเราเริ่มปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามคำสอนของศาสนา

การกระทำหรือการแสวงหาในสิ่งดีๆ เพื่อนำพาชีวิตให้รอดและเป็นสุขนั้น

ต้องอาศัยหลักในการคิดย้อนกลับไปหาต้นเหตุแห่งทุกข์

และจะได้เหตุผลว่า ถ้าทำอย่างนั้นดีจะทำให้เกิดความสุขความเจริญในภายหน้า

และถ้าทำหรือปฏิบัติตัวไม่ดี นอกจากผู้ปฎิบัติจะเป็นบาป แล้วยังก่อให้เกิดความทุกข์เพราะการกระ

+1 โหวต

คำตอบของคุณ

(ไม่บังคับ)

เพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีการตอบกลับ

คำถามในป้ายกำกับ
ถามคำถาม