เรื่องของภาษาไทย

ภาษาไทยมีคำเชื่อมมากมาย ไม่ว่าจะ กับ และ โดย กระทั่ง ด้วย เมื่อ เพื่อ แก่ ต่อ แด่ ฯลฯ

เราเริ่มสงสัยอีกแล้ว ว่า คำเชื่อมเหล่านี้ ใช้อย่างไร

เพราะเราเห็นคนใช้ คำบางคำ กับ บางคำ บางประโยค แล้วสงสัย ว่าเขาใช้ถูกหรือเราเข้าใจผิด

เช่น...

นาย ก. ส่งยาบ้าให้กับนาย ข. ....

ซึ่งงเราคิดว่า ประโยคที่ถูกควรเป็น .. นาย ก. ส่งยาบ้าให้แก่นาย ข.

นาย ก. เรียนพิเศษทำให้มีผลดีกับการเรียน ...

ซึ่งเราคิดว่า ประโยคที่ถูกควรเป็น .. นาย ก. เรียนพิเศษทำให้มีผลดีต่อการเรียน

หรือยังไง .. ช่วยอธิบายให้เราที ... ขอบคุณล่วงหน้าจ้ะ

5 คำตอบ · +3 โหวต · 0 รายการโปรด · 51 อ่านแล้ว

ไม่รู้เหมือนกัน ไม่เก่งภาษาไทย

แต่สำหรับเรายังไงก็ได้ ถ้ามันฟังดูเข้าท่า

+2 โหวต · 1 ตอบกลับ

นั่นสิ!

ถ้าเป็นภาษาพูดยังไงก็ได้ แต่ถ้าเป็นภาษาเขียน ก็เหมือนการใช้ภาษาผิด

+0 โหวต

ไม่รุ้จะตอบยังไงดีอะ

เเเต่หนูเเต่งนิยานนะ เวลาเเต่งตอนบรรยาอะ จะใช้คำพวกนี่เเหละ เพื่อให้มันมีความไพเราะ อรรถรส ลื่นไหลอะ ประมานนี้

หนูคิดว่ามันอยุ่ที่ประโดยค เเละเนื้อหาของมันว่าเหมาะกับคำไหน นะ

ไม่เเน่ใจ

+2 โหวต · 5 ตอบกลับ

เเต่เค้าใช้ก้อไม่ผิดนี่หน่า ไม่ได้ใช้เยอะเเยะจนเลอะเทอะอะไรนะ ก้อปกติเเหละ ไม่ใช่สำบัตสำนวนทุกบรรทัดหรอก เเค่บางช่วงบางตอนบางบรรทัดเท่านั้นเอง

+1 โหวต

ยังไม่ได้ว่าอะไรเลย .. แค่บอกว่า การเขียนเชิงพรรณาโวหาร สามารถใช้คำที่มีความหมายเหมือนกันมาทดแทนกันได้ แต่ขอให้ถูกไวยากรณ์เท่านั้นเอง

เข้าใจตรงกันป๊ะจ๊ะ ..คนสวย

+0 โหวต

อืม งืมไ

เจ๊

+0 โหวต

ว่า..... ? ? ?

+0 โหวต

" คำจะสวยหรือไม่นั้น..มันขึ้นอยู่ที่มุมมอง "

+2 โหวต · 1 ตอบกลับ

แต่ถ้าเป็นกลอน ก็ได้อยู่นะพ่อ

ใช้คำที่มีความหมายเหมือนกันแทนกันเพื่อความไพเราะ

แต่ถ้าเป็นหนังสือราชการ ก็คงต้องเลือกคำที่ถูกต้องหรือเปล่าจ๊ะ

+0 โหวต

มันก็หยวนๆกันได้

เพราะมีมากมายไง คนเลยเลือกให้ไม่ถูก

ก็แบบว่าการพูดคุยกันในระดับแบบนี้

มันก็ไม่ต้องเป๊ะอะไร แค่ฟังแล้วเข้าใจก็โอ

แต่ถ้าจะให้ถูกต้องเป๊ะๆ ถูกหลัก

ส่วนมากจะมีในข้อสอบ เวลาจะสอบต่างๆเท่านั้น

แต่ในชีวิตมันก็ยังไงก็ได้ 555

+1 โหวต · 1 ตอบกลับ

ถูกต้องจ้ะ ภาษาพูดขอแค่สื่อสารกันได้เข้าใจก็พอ

ส่วนภาษาที่ถูกหลักไวยากรณ์ ก็ใช้กับการเขียนนิยาย นวนิยาย เรื่องสั้น และหนังสือราชการ

+1 โหวต

ไม่ว่าจะภาษาไทยหรือภาษาใดๆในโลก..มันจะมีสิ่งที่เรียกว่าภาษาทางการ..ใช้ในทางการ..หรือราชการ..

ส่วนภาษาพูดเอาพอให้เข้าใจก็พอ..เหมือนกันถ้าเราพูดให้ตรงตามที่เรียนมาเป๊ะๆ..เคยมีฝรั่งทักว่า..จะไปสอบเหรอครับ..

ยิ่งถ้าพูดภาษาฝรั่งกะคนชาติอื่นด้วยแล้วหล่ะก็..ไปกันใหญ่..เค้าอาจจะงงด้วยซ้ำ..

เหมือนกันถ้าเราพูดภาษาไทยให้ตรงตามหลักการเป๊ะ..จะศื่อสารกับชนชาติอื่นที่เค้าอยากศึกษาบ้านเราอย่างลำบาก..

แต่..ก็ไม่ได้หมายความว่ามันไม่ใช่เรื่องไม่ดีหรือไม่จำเป็น..แต่การสอนให้เด็กหรือใครซักคนได้รู้จักสิ่งเหล่านั้น..

เราควรจะให้เค้าเรียนรู้ที่จะใช้มันด้วย..ไม่ใช่แค่ยัดใส่สมอง..แล้วบอกว่าเรียนๆไปเถอะ..ทางกระทรวงเค้าแจ้งมา..

เรียนให้จำ..แต่ไม่สอนให้รู้จักใช้..จะมีประโยชน์อะไรกัน..เหมือนเมื่อก่อนต้องเรียนแคลคูลลัส..จนถึงอินติเกรด3ชั้น...

มีแต่ให้ท่อง..แต่ถามกลับว่า..เราจะได้ใช้ตอนไหนครับจารย์..ตอนที่เธอสอบเข้าวิศวะฯงัยหล่ะ...ตกซิครับ..ถามได้..

จนถึงทุกวันนี้..ก็ไม่เคยได้สัมผัสสูตรพวกนั้นอีกเลย..

+1 โหวต · 1 ตอบกลับ

หลายอย่างโรงเรียนเมืองไทย สอนให้รู้ ให้จำ แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์

และอีกหลายๆ อย่างที่เหมือนไม่ได้ใช้ประโยชน์ แต่ก็นำไปใช้ในเชิงวิเคราะห์

หรือในเชิงประยุกต์ โดยที่เราอาจไม่รู้ตัวก็ได้ นะ

เหมือนประสบการณ์ไง จับต้องไม่ได้แต่ก็มีอยู่จริง และนำไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ได้จริงด้วย

+0 โหวต

คำตอบของคุณ

(ไม่บังคับ)

เพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีการตอบกลับ

คำถามในป้ายกำกับ
ถามคำถาม