คำถามที่ถูกเก็บไว้
ถามคำถาม

สาระน่ารู้ : โรคกลัวการเข้าสังคม (Social Phobia)

โรคกลัวการเข้าสังคม (Social Phobia)

คืออะไร

อาการวิตกกังวลว่าตัวเองจะเผลอทำอะไรเปิ่น ๆ เชย ๆ หรือทำพลาดให้ต้องอับอาย กลัวถูกวิพากษ์วิจารณ์จากคนรอบข้าง เหมือนอาการของคนตื่นเต้นแบบปกติทั่วไป

แต่สำหรับผู้ป่วยโรคกลัวการเข้าสังคม (Social Phobia) จะประหม่ามาก และไม่สามารถบังคับตัวเองให้ไม่ขลาดกลัวการเข้าสังคมได้เลย มักแอบแฝงอยู่ในตัวบุคคลที่ดูเป็นปกติสุขดี ร่างกายแข็งแรง และไม่มีทีท่าว่าป่วย เพราะอาการของโรคจะก้ำกึ่งอยู่ระหว่างความขี้อาย ประหม่า กลัวขายหน้า ตามสถานการณ์ตื่นเต้นทั่วไปใครๆก็เป็น เลยทำให้ผู้ป่วยหลายคนที่ป่วยเป็นโรคกลัวสังคมไม่รู้ตัว

เกิดขึ้นกับทุกช่วงอายุ ทั้งเพศชายหญิง มีโอกาสเป็นโรคนี้เท่า ๆ กัน

มักเด่นชัดในช่วงวัยเด็กจนถึงช่วงวัยรุ่น เป็นเพราะช่วงวัยนี้เป็นช่วงที่เริ่มต้องเข้าสังคมมากขึ้น ส่วนมากจะขาดความมั่นใจในตัวเอง และคิดว่าตัวเองมีปมด้อยที่น่าอับอาย ซึ่งเป็นความคิดที่ลดคุณค่าของตัวเองลงโดยไม่รู้ตัว จนเกิดความขลาดกลัวการเข้าสังคมในที่สุด

ในวัยเด็ก เด็กขี้อายเป็นเรื่องปกติของช่วงวัยเด็ก แต่สำหรับที่เข้าข่ายเป็นโรคนี้จะแตกต่างออกไป เด็กเหล่านี้ไม่กล้าแม้แต่เล่นกับเด็กคนอื่น อายถึงขั้นหวาดกลัวการพูดกับผู้ใหญ่ ไม่สบตาใครขณะพูดและมักจะไม่ยอมไปโรงเรียน

ในวัยผู้ใหญ่ มักจะมีอาการสืบเนื่องมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก หรือเป็นวัยรุ่น โดยที่ไม่ได้รับการรักษาเยียวยาให้หายหวาดกลัวการเข้าสังคม

อาการโรคแบ่งออก 3 ประเภท

อาการแสดงทางอารมณ์และความคิด

1. รู้สึกประหม่าทุกครั้งที่ต้องพูดกับบุคคลอื่นหรืออยู่ต่อหน้าคนอื่นก็พูดไม่ออก

2. วิตกกังวลอย่างมาก ว่าคนอื่นจะวิพากษ์วิจารณ์และคิดอย่างไร กับตัวเอง

3. เครียดล่วงหน้าเป็นวันหรือสัปดาห์ เมื่อรู้ว่าต้องปรากฏตัวต่อหน้าสาธารณชน

4. กลัวว่าตัวเองจะแสดงอาการหน้าขายหน้าออกไป

5. กลัวคนอื่นจะจับสังเกตได้ว่ากำลังรู้สึกประหม่าอยู่

อาการทางกายและพฤติกรรม

อาย หน้าแดง เขินจนบิด ไม่กล้าสบตา เสียงสั่น พูดตะกุกตะกัก หายใจหอบถี่กระชั้น ใจเต้นแรง แน่นหน้าอก เหงื่อแตก หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ ปั่นป่วนในท้อง บางรายถึงกับอาเจียน

พฤติกรรมที่บ่งชี้อาการ

1. ชอบปลีกตัวหลบอยู่คนเดียวบ่อย ๆ เพราะกลัวการเผชิญหน้ากับบุคคลอื่น

2. มนุษยสัมพันธ์ค่อนข้างต่ำ และรักษาความเป็นเพื่อนไว้ได้ยาก

3. ไม่กล้าทำอะไรด้วยตัวเอง ต้องมีเพื่อนอยู่ข้าง ๆ ตลอดเวลา

4. ไม่กล้าแสดงออกขั้นรุนแรง

5. ผู้ใหญ่บางรายอาจดื่มแอลกอฮอล์ย้อมใจทุกครั้งก่อนเผชิญหน้ากับคนหมู่มาก

ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการหวาดกลัวสังคม

หากอยู่ในสถานการณ์ปกติ อาการโรคหวาดกลัวสังคมคงไม่แสดงออกมาให้เห็นได้ชัดเจนนัก

แต่หากได้รับการกระตุ้นจากปัจจัยภายนอกบางอย่างทำให้เกิดอาการดังกล่าวขึ้นมาได้ เช่น

1. เมื่อต้องพบเพื่อน หรือต้องทำความรู้จักกับคนใหม่ ๆ

2. กำลังตกเป็นเป้าสายตาถูกล้อ แซว หรือกล่าวถึง

3. ถูกจับจ้องเวลาที่ทำอะไร รู้สึกว่าโดนแอบมอง เวลาไปออกเดท

4. จำเป็นต้องพูดคุยกับใครเป็นบทสนทนาสั้น ๆ หรือเมื่อต้องเข้าสอบ หรือถูกทดสอบ

5. เมื่อต้องพูดในที่สาธารณะ แสดงบนเวที หรือหน้าชั้นเรียน ในที่ประชุม

6. เมื่อต้องพูดคุยกับคนสำคัญ หรือบุคคลที่มีอิทธิพลเหนือกว่าตัวเอง

7. เมื่อเป็นฝ่ายโทรศัพท์ หรือติดต่อผู้อื่นก่อน

8. เวลารับประทานอาหารในที่สาธารณะ เวลาไปงานปาร์ตี้

โรคกลัวการเข้าสังคม มีผลกระทบกับชีวิตอย่างไร ?

ผลกระทบกับชีวิตการงาน และการเรียน

1.ไม่กล้าไปสัมภาษณ์งาน ไม่กล้าแสดงออกในที่ประชุม หรือหน้าชั้นเรียน

2. มีปัญหากับการติดต่อประสานงานกับหัวหน้า หรือเพื่อนร่วมงาน

3. ลังเลที่จะตัดสินใจรับตำแหน่ง หรือหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

4.ไม่มีความสุขและประสิทธิภาพในการทำงาน และการเรียนถดถอย

ผลกระทบกับความสัมพันธ์

1. มีปัญหาในการสานสัมพันธ์ รูปแบบเพื่อนหรือคนรัก คบไม่ได้นาน

2.ไม่กล้าเปิดใจรับใครเข้ามา

3.ไม่กล้าแชร์ความคิดเห็นร่วมกับบุคคลอื่น

ผลกระทบกับชีวิตประจำวัน

เสียโอกาสได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ทำให้ไม่ได้พัฒนาตนเองอย่างที่ควรพลาดโอกาสดี ๆ ในชีวิต ขังตัวเองอยู่ในโลกส่วนตัว กลายเป็นคนโลกแคบได้

การวินิจฉัยโรค

จิตแพทย์จะวินิจฉัยโรคเมื่อบุคคลนั้นมีอาการกลัวสังคมต่อเนื่องกันนานเกิน 6 เดือน โดยเฉพาะวัยเด็กไปจนถึงวัยรุ่น โดยสอบถาม สังเกตอาการระหว่างที่พูดคุย หากว่ามีอาการวิตกกังวลและหวาดกลัวต่อบุคคลอื่น แม้จะใช้ชีวิตตามปกติของตัวเองก็ทำได้ลำบาก

แนวทางการรักษา 2 วิธี

1. การรักษาด้วยวิธีจิตวิทยา

จิตแพทย์บำบัดด้วยการรับรู้และพฤติกรรม ถือว่าเป็นแนวทางการรักษาโรคกลัวการเข้าสังคมที่เหมาะสมมาก โดยจิตแพทย์จะพยายามโน้มน้าวผู้ป่วยให้เปลี่ยนความคิด ปรับพฤติกรรม และเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาอาการกลัวสังคมของตัวเอง เพื่อให้เขารู้สึกประหม่าและวิตกกังวลน้อยลง รวมทั้งเปิดโอกาสให้เขาเรียนรู้การเข้าสังคมมากขึ้นด้วย

2. การรักษาด้วยยา

จิตแพทย์สั่งยาลดอาการซึมเศร้า (Antidepressants) และยาระงับความวิตกกังวล (Anti-Anxiety) ซึ่งระดับความรุนแรงของยาสามารถจำแนก 3 ระดับ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ควรอยู่ภายใต้การวินิจฉัยขอ

แม้โรคกลัวการเข้าสังคมจะดูไม่เป็นอันตรายกับสุขภาพของเราเท่าไร แต่ก็มีผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยไม่น้อยเลยทีเดียว

ดังนั้นหากคุณ หรือคนรอบข้างมีความสุ่มเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคนี้ ควรรีบปรึกษาจิตแพทย์ โดยด่วน

Cr.http://health.kapook.com/view84729.html

ปล.ขอลงหน่อยนะครับ เพราะผมเองก็สงสัยตัวเองอยู่ว่าเป็นรึเปล่าเพราะอาการบ่งบอกหลายอย่างมาก ช่วงนี้ก็กลุ้มปัญหานี้อยู่ด้วยครับ ไม่รู้จะแก้ไขยังไงดี ใครมีคำแนะนำดีๆในการเผชิญการเข้าสังคม ก็ช่วยให้คำแนะนำด้วยก็ยิ่งดีครับ

7 คำตอบ · +5 โหวต · 0 รายการโปรด · 584 อ่านแล้ว

ถ้าเป็นโรคคือ สมองต้องผลิตสารมากกว่าคนปกติ

แต่ถ้าไม่ได้เป็นโรคแต่มีอากาใกล้เคียง ให้ฝึกไม่ตื่นเต้น

ค่อยๆฝึกจากเรื่องเข้าสังคมเล็ก ไปหาเข้าสังคมใหญ่

ไม่น่าจะอายหรือประหม่าถ้าไปสั่งอาหารร้านเดิมๆ พบคนเดิมๆ

ให้มองว่า เรื่องผิดพลาดเป็นเรื่องไม่น่าอาย ฝึกไม่แคร์ใคร จะช่วยได้

แต่ถ้าเป็นโรคด้วยแพทย์วินิจฉัย และถึงขั้นรับยาประจำ อันนั้น ต้องกินยา

ขอให้ผ่านไปด้วยดี

+5 โหวต · 18 ตอบกลับ

ใช่ๆ นอนเอาแรงก่อนก็ได้ แล้วค่อยตื่นมาดูอีกที

+0 โหวต

หลุดจากความคิดไปหมด ไม่รู้ใครจะได้ ลุ้นดี สนุกๆ

+0 โหวต

บอลลูกกลมๆอะไรไม่แน่ไม่นอนหรอก

+0 โหวต

ใช่ ทำเต็มที่พอ ไงก็ชนะในใจ

+0 โหวต

หาหมอค่ะ

เมื่อก่อนไม่กล้าไปไหนมาไหน คนเดียว

กลัวคนรอบข้างนินทา กลัวว่าเขาจะมองว่าเราไม่มีเพื่อน ไม่มีใครคบ

แต่เราในตอนนั้นมันเลยวัยที่จะตามตูดติดเพื่อนแล้ว ไม่ใช่สมัย ม ปลายแบบเมื่อก่อน

กลุ้มใจนะ .. เราคิดว่าจะเอาไงดี เราต้องทำอะไรได้ด้วยตัวเองซิ

จากนั้นเราก็ ฝึกเลยค่ะ

ทุกครั้งที่ไปข้างนอก เราจะพูดกับตัวเอง

ฉันสวยยย ฉันเริสสส ฉันไม่แคร์ ใครจะทำไม

ไม่ได้ขอข้าวมันกิน .. ประมาณนี่แหละ 55 แบบว่าหลอกตัวเองสร้างความมั่นใจ

ทำแบบนี้ทุกครั้ง ไม่นาน แล้วก็ HAppy เวลาออกไปไหนไม่จำเป็นทุกพูดแบบนี้แหละ

ไปได้เลย เก๋ๆ ไม่กลัวใคร 555 ชิวๆ

ในชีวิตที่จะหวาดกลัวเวลาจะพูดจะจา ก็ตอนสมัยเรียนอย่างเดียว

กลัวพูดอะไรผิดไป ไม่เข้าหูอาจารย์แล้วจะสร้างความรู้สึกไม่ดี เลยเงียบๆ พูดน้อย ยิ้มอย่างเดียว 5555555555

+5 โหวต · 11 ตอบกลับ

ค่ะ กำแพงที่คุณสร้างบางครั้งก็มีแค่คุณนั้นแหละค่ะ ที่จะพัง

อย่าไปหวังจากคนอื่น

+0 โหวต

ก็คงต้องเป็นแบบนั้นละครับ เพราะงั้นผมเลยคงต้องใช้เวลาสักพัก

มันไม่ง่ายเหมือนที่คิดนะครับ

+1 โหวต

สู้ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

+0 โหวต

ขอบคุณครับ

+1 โหวต

เราเป็นอยู่ค่ะ

แต่ฝึกให้ตัวเองไม่ขลาดกลัวต่อสิ่งอื่น

ก้อรู้สึกว่าดีขึ้น แต่ยังไม่หายซะทีเดียวค่ะ

+4 โหวต · 1 ตอบกลับ

อาการแบบนี้ต้องใช้เวลาและกำลังใจครับ

ผมเองก็อยากแก้ไขตัวเองเช่นกัน

+0 โหวต

สู้ๆครับ เป็นกำลังให้

และผมเองก็คงรู้ตัวว่าป่วย แต่เป็นโรคไบโพล่า เพราะรู้ตัวว่าเป็นมานานหลายปีแล้ว

เพราะผลกระทบจากเรื่องเลวร้ายในอดีต มันทับถมจนทำให้ผมต้องกลายเป็นเช่นนี้

แต่ก็พยายามรักษา และเอาชนะมันมาตลอด......

+4 โหวต · 1 ตอบกลับ

เรา 2 คนก็คล้ายๆกันครับ ยังไงก็เป็นกำลังใจให้กันและกันครับ

+0 โหวต

การวินิจฉัยเป็นหน้าที่ของจิตแพทย์ แต่ไม่ได้หมายความว่า ผู้ที่เป็นโฟเบียชนิดนี้คือคนเป็นโรคจิตนะ

เป็นแค่อาการบางอย่างที่เกิดขึ้นในความคิด ความรู้สึก อารมณ์ ตราบใดที่เรายังรับรู้เวลา สถานที่และบุคคลได้ เมื่อนั้นเราไม่ได้เป็นโรคจิต และการพบจิตแพทย์ไม่ได้หมายความว่าเป็นผู้ป่วยโรคจิต หรือคนบ้าด้วย แต่จิตแพทย์และนักจิตวิทยาเป้นบุคลกรที่ดูแลด้านจิตใจ และร่างกายที่มีผลมาจากจิตใจต่างหาก

บางรายก็แค่ให้พฤติกรรมบำบัดเท่านั้น บางรายอาจต้องใช้ยาร่วมด้วย

หากสงสัย ...และต้องการคำอธิบาย

สามารถกสอบถามได้ที่โรงพยาบาลทุกแห่งที่มีกลุ่มงานจิตเวช

หรือบางแห่งเป็นแผนกจิตเวชก็ได้เหมือนกันจ้ะ

หรือยังไม่มั่นใจพอที่จะเผชิญหน้า

ก็ปรึกษาผ่านโทรศัพท์ไปก่อนก็ได้นะจ๊ะ

เบอร์นี้เลย .... ๑๖๖๗ ....

+3 โหวต · 2 ตอบกลับ

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ ถ้าผมไม่ไหวจริงๆคงต้องพึ่งหมอละครับ

+1 โหวต

จ้ะ อย่าคิดมาก ตปท. แค่เครียด

หรือกังวลจัดๆ ก็ปรึกษาจิตแพทย์แล้ว

บาทหลวงก็ประมาณจิตแพทย์ในศาสนาคริสต์นั่นแหละจ้ะ เพราะฉะนั้น ไม่ต้องคิดมาก

+0 โหวต

ให้เลือกค่ะ สมมติในวันที่ฝนตก พี่คิดว่าพี่จะวาดรูปตัวเองตากฝนแบบไหน ?

+2 โหวต · 4 ตอบกลับ

ภาพที่ 1 ครับ

+0 โหวต

คนในรูปก็คือคุณ เม็ดฝนก็คือปัญญา

คุณไม่มีอะไรลองรับปัญหาเลย พุ่งเข้าชนมันด้วยตัวเอง

แบบนี้ก็หน้าเป็นห่วงนะคะ

+0 โหวต

ช่วยพี่ด้วย

+0 โหวต

ถ้าวันนึงฝนตกหนักขึ้นมา พี่จะตากฝนไหวไหม ร่างกายจะต้านอะไรได้อีก

สิ่งที่พี่น่าจะทำได้ คือหลบฝน หรือไม่ก็หาร่ม

เวลามีปัญหา พี่ก็แค่เล่าให้คนอื่นฟังบ้าง

ไม่จำเป็นว่าพี่จะเล่าให้คนที่รู้จักฟัง คนที่ไม่รู้จักพี่ก็เล่าไป แค่นั้น

แค่เปิดใจ ไม่มีใครทำร้ายพี่ ไม่มีใครมองว่าพี่อ่อนแอ

+0 โหวต

รู้สึกว่าพี่จะเป็นหลายข้อนะ เข้าข่ายเป็นโรคนี้เหมือนกัน

+1 โหวต · 1 ตอบกลับ

ผมเองก็เป็นหลายข้อเหมือนกันครับ ตอนนี้ก็พยายามแก้ไขอยู่ครับ

+0 โหวต

คำตอบของคุณ

(ไม่บังคับ)

เพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีการตอบกลับ

คำถามที่คุณอาจจะสนใจ

ดูคำถามที่เกี่ยวกับ สุขภาพ
ถามคำถาม