คำพูดที่ควรระมัดระวัง เวลาพูดกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

มีคำพูดหลายๆคำที่พูดด้วยเจตนาดี และ มักนิยมพูดเพื่อให้กำลังใจ คนที่เรารัก คนที่รู้จัก ยามที่เกิดปัญหา

แต่เมื่อนำมาใช้กับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ผลของการพูดอาจ เป็นในทางตรงกันข้าม และทำให้ผู้ป่วยมีอาการมากขึ้น เพราะจะทำให้รู้สึกว่า

-คนพูดไม่เข้าใจ

-รู้สึกถูกกดดัน

-สิ่งที่แนะนำ เขาทำมามากแล้ว แต่พลังใจ หมดแล้ว ไม่เหลือที่จะทำอะไรแล้ว

-การร้องไห้ บางครั้ง ทำให้เขาได้ปลดปล่อย ความรู้สึกเศร้าออกมา

ถ้าจะให้เก็บไว้ คงจะเหมือน ตอนอยากอาเจียน แต่ไปห้ามเขาไม่ให้อาเจียนออกมา

-คนไข้กลุ่มนี้ จะรู้สึก hopeless helplessness [ความสื้นหวัง] จะ cheer up อย่างไร ก็ไม่สำเร็จ

.

การรับฟังด้วยความตั้งใจ ดีที่สุด

ให้ผู้พูด รู้สึกว่าเราพยายามจะเข้าใจเขา และพร้อมที่จะช่วยเหลือ อยู่เสมอ

การพูดไม่ใช่การชี้หาทางออกให้

แต่เป็นการ ช่วยเขาให้ คิดหาทางออกด้วยตัวของเขาเอง เมื่อเวลาผ่านไป สภาพแวดล้อมที่ดี จะช่วยให้เขาเหล่านั้น ค่อยๆดีขึ้น

.

> เมื่อถึงตรงนี้ หลายคนคงจะมีคำถามว่า ถ้าไม่พูดคำพวกนี้ แล้วจะให้พูดอะไร ?

สำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เราเข้าใจผิดมานานว่า...เราต้องหาคำพูดอะไรบางอย่าง เพื่อให้เขาดีขึ้น แต่ที่จริงแล้ว การฟัง สำคัญกว่าการพูด

ฟังแล้ว พยายามเข้าใจ ความคิด ในมุมของเขาดีกว่า คิดในมุมของเรา

ถ้าเราทำให้เขารู้สึกว่า เราพยายามเข้าใจ หรือเข้าใจ สิ่งที่เกิดขึ้นกับเขา จะทำให้อาการเขาดีขึ้น เพราะคนเป็นโรคนี้ คิดว่า ไม่มีใครเข้าใจเขาบนโลกนี้เลย ทำให้รู้สึกสิ้นหวัง และคิดว่า ไม่มีใครช่วยเหลือเขาได้

.

สิ่งที่พอทำได้ ในการพูดคุย คือ การรับฟังอย่างตั้งใจ และ บางครั้ง อาจใช้วิธี ถามกลับว่า สิ่งที่กำลังพูดนี้

-เหมือนคุณกำลังเครียด หาทางออกไม่ได้

-เหมือนคุณกำลัง โกรธ /หงุดหงิด / กำลังเบื่อ /เศร้า /เซ็ง เพื่อรับการตอบสนอง จากนั้น รับฟังต่อ

ผู้ป่วยจะรู้สึกว่า เรากำลังพยายามจะเข้าใจ อารมณ์ ความรู้สึกเขา สิ่งนี้เป็นจุดเริ่มต้น ทำให้เขามีควมหวังว่า มีคนเข้าใจเขา เหลืออยู่อีกคน

อันจะเป็นเหตุเป็นปัจจัย เริ่มไปสู่สิ่งทึ่ดีขึ้น

การอยู่เคียงข้าง บางครั้งไม่ต้องพูดอะไร แค่กุมมือกัน ถ้าสนิทกัน ก็โอบกอด ส่งสัญญาณ ความอบอุ่นให้กันและกัน พลังแห่งภาษากายนี้

จะช่วยให้ความรู้สึกดีๆ เกิดขึ้น จนทำให้ความเศร้า เหงา ที่ต้องอยู่คนเดียวบนโลกกว้างใหญ่นี้ ได้เจือจางลงแล้วทุกสิ่ง ที่ดีๆ ก็จะกลับคืนมา

#หมอปันเฌอ

เครดิตภาพ : mahidol Channel

เครดิต : FB สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย

เครดิต : FB คลินิกสุขภาพจิต นายแพทย์เจษฎา

7 คำตอบ · +5 โหวต · 3 รายการโปรด · 385 อ่านแล้ว

ถือว่าดี ขนาดคนใกล้ตัวเรา เขาเพิ่งบอกว่าเป็นโรคนี้ ต้องกินยา จะฆ่าตัวตายหลายที ดีเลยจะได้นำไปใช้

เดี๋ยวนี้สภาวะจิตใจคนเราไม่ใช่โอเค โลกเราอยู่ยาก สังคม สภาะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป

+3 โหวต · 0 ตอบกลับ

ขอบคุณสำหรับสาระดีดี ที่นำมาฝากจริงๆครับ คุณคิดถูกแล้ว ที่นำมาเสนอ....

มันคือเรื่องราว ที่ควรจะเข้าใจ และคิดเป็นอย่างมาก

เพราะสังคมไทยทุกวันนี้ มันเครียด กดดัน ไม่ว่าจากกันเอาเปรียบกันในสังคม ไม่ให้โอกาสเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

ใครดี ใครได้ ใครจะเป็นยังไง ช่างหัวมัน ริดรอนสิทธิของผู้อื่น แม้กระทั่งตกงาน ไม่มีงานทำ...

ซึ่งหากมองโดยภาครวมแล้ว ก็คือมาจากคำที่ว่า......'' เห็นแก่ตัว '' ดีีดีนี่เอง

ซึ่งไม่แปลกเลยว่า ทำไมผู้ป่วยซึมเศร้า หรือแม้กระทั่งโรคไบโพล่า ในประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยมากขึ้น

และการที่คนไทยถึงขั้นคิดสั้น มีจำนวนมากขึ้น

ซึ่งสามารถเห็นตัวอย่าง และอุทธาหรณ์จากในข่าว หรือหน้าหนังสือพิมพ์ในแต่ละวัน....

+3 โหวต · 0 ตอบกลับ

เคยเจอเพืือนท้อง เครียดมาหาเรา อยากเอาเด็กออก กลัวแม่รู้ ท้องโต 4 เดือนแล้ว เราก็บอกอย่าเอาเด็กออก มันอันตราย มันบาป เอางี้ไหม ถ้าเธอบอกแม่เองแม่เธอจะโมโหมาก ดีไม่ดีอาจทำร้ายเอาได้ อาจเผลอถีบเธอจนลูกในท้องเป็นอันตราย ทางที่ดีเํธอไปหาคนที่เขาสนิทกับแม่เธอ คนที่พูดกับแม่เธอง่ายที่สุด เล่าให้เขาฟัง ค่อยๆ บอกแม่ แม่อาจจะโมโห แต่ก็จะด่าแต่ตอนแรกแหละ แต่ก็จะทำใจ และเธอก็ต้องทำใจด้วย ตอนแรกอาจถูกด่า อาจกดดันบ้าง ชาวบ้านคงนินทา แต่ให้จำไว้ ไม่นาน คนไทยก็ลืมง่าย ให้อดทน สู้อีกนิด ไม่นานแล้วจะดีเอง เขาก็ทำตามที่บอก ให้คนที่สนิทกับแม่ไปพูด แรกๆ ก็เจอด่าหน่อย ทนชาวบ้านนิดหน่อย เขาได้เก็บเด็กไว้ คลอดแล้ว ตอนนี้โตแล้ว น่าจะ ห้าขวบแล้วมัง เป็นเด็กน่ารักมาก ใครๆก็หลงรัก ภูมิใจค่ะ ที่ได้ให้กำลังใจและแนะวิธีให้คนๆหนึ่ง ไม่เอาเด็กออก เพราะมันบาป ภูมิใจที่เด็กคนนั้นได้เกิดมาเพราะเราค่ะ อิอิ :) :P

+2 โหวต · 0 ตอบกลับ

เป็นคำแนะนำที่ดีมากๆ

เพราะจะได้ไม่ทำอะไรให้ดูแย่ไปกว่าเดิม

การรับฟังด้วยท่าทีเห็นอกเห็นใจ

สะท้อนความรู้สึกของเขา

เป็นการกระตุ้นให้เขาได้ระบาย

และรู้สึกไม่สิ้นหวังโดดเดี่ยวบนโลกใบนี้

การได้พูด ได้ระบาย

ก็เหมือนปล่อยลมออกจากลูกโป่ง

ยิ่งลูกโป่งลดแรงอัดมากเท่าไหร่

โอกาสระเบิด จนแตกกระจายก็น้อยลง

+2 โหวต · 0 ตอบกลับ

โอ๊ยยย... ตาลายใช้โควต้า 7 บรรทัดไปแล้ว 55555

.

.

.

..

บางทีก็ดูไม่ออกนะว่าใครกำลังเป็นโรคซึมเศร้า

+2 โหวต · 2 ตอบกลับ

ครับ เยอะพอสมควร ไม่แปลกที่ตาลาย 😂

ดูยากครับ นอกจากจะมีคนใกล้ตัวเป็น หรือไม่ก็ได้ลองพูดคุยกัน

แต่ปกติก่อนที่เราจะพูดอะไรไป ก็ต้องระวังอยู่แล้ว

คนป่วย เป็นคนที่น่าสงสาร สิ่งที่เราทำได้ คือ เข้าใจเขา ให้กำลังใจเขา

ไม่พูดคำที่ไม่ควรพูด เพราะไม่มีใครอยากเป็น แม้แต่ตัวเราเอง

+1 โหวต

บางทีก็ดูไม่ออกนะว่าใครกำลังเป็นโรคซึมเศร้า พี่เห็นด้วยเลย สมัยนี้คนที่ดูซึมๆเศร้าๆมีเยอะมากทีเดียว

แต่ที่พี่ค่อนข้างแน่ใจก็คือ เซียวเหล่งนึ่ง ไม่ได้เป็นโรคซึมเศร้า แต่น่าจะเป็นโรคซึมลึกมากกว่าครับ ๕๕๕

+0 โหวต

เวลาพูดกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

ซึมเศร้า เหงา เพราะเอ็งอยู่คนเดียวไม่มีใครคบ ก็ดีนะ มรึงทำตัวเอง ทนหน่อย นานไปก็ชินเจือจางลง แล้วสิ่งดีๆ หรือหนักกว่าเดิมก็จะกลับคืนมาเป็นของเอ็ง 555 ... สมน้ำหน้า

.....

กรูจะบอกมรึงนะว่า ...ไม่มีใครเข้าใจมรึงหรอก สิ้นหวังได้เลย ไม่มีใครช่วยเหลือมรึงได้...เค้าเองก็แย่อยู่

แค่มรึงยังน้อยไปนะ 555

เครดิต : คลินิกสุขภาพจิตเสือ่ม หมอผีเจ้าเก่า

.

.

.

.

.

.

(ล้อเล่นนะ อย่าคิดมาเลย)

คำพูดข้างต้นอย่าเอาไปพูดกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเด็ดขาด

+1 โหวต · 0 ตอบกลับ

ขอบคุณสำหรับสาระน่ารู้ครับ ส่วนพี่ก็พูดไม่เก่ง งั้นมากอดกันดีกว่าครับ อิอิ

+0 โหวต · 0 ตอบกลับ

คำตอบของคุณ

(ไม่บังคับ)

เพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีการตอบกลับ