ถ้าโรค "อีโบล่า" เข้ามาระบาดในไทยคุณคิดว่าคุณจะรอดไหม

โรคติดเชื้อไวรัส อีโบลา ระบาดอย่างต่อเนื่องในแถบแอฟริกาตะวันตก ประเทศกินี ไลบีเรีย และเซียร์ราลีโอน ซึ่งเริ่มแพร่ระบาดมาตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่าน และองค์การอนามัยโลกได้ออกมาเปิดเผยเมื่อวันที่ 1 ก.ค. ที่ผ่านมาว่า จำนวนผู้ที่เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสอีโบลานั้นพุ่งไปอยู่ที่ 467 คนแล้ว ถึงแม้ว่าโรคติดเชื้อไวรัส อีโบลา จะระบาดอยู่ในแถบแอฟริกา แต่เราก็ควรทำความรู้จักกับโรคนี้ไว้ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมหากว่าเชื้อร้ายนี้จะแพร่ระบาดมาสู่ประเทศไทย หรือชาวไทยที่เดินทางไปท่องเที่ยวในแถบแอฟริกาจะได้ปฏิบัติตัวถูก เมื่อต้องเจอกับเชื้อโรคร้ายนี้ ไปทำความรู้จักกับโรคนี้กันเลยดีกว่าค่ะ

ebola_micrograph_0

ลักษณะโรคติดเชื้อไวรัส อีโบลา

เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชนิดเฉียบพลันรุนแรง เกิดจากเชื้อไวรัสอีโบลา (Ebola virus) ซึ่งอยู่ในตระกูล Filoviridae family ประกอบด้วย 5 สายพันธุ์ (species) ได้แก่ สายพันธุ์ไอวอรีโคสต์ สายพันธุ์ซูดาน สายพันธุ์ซาร์อี สายพันธุ์เรสตัน (Reston) และสายพันธุ์ Bundibugyo โดยสายพันธุ์ซูดาน สายพันธุ์ซาร์อี และสายพันธุ์ Bundibugyo ทำให้เกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในแอฟริกาและทำให้มีอัตราป่วยตายประมาณ ร้อยละ 25-90 ในขณะที่ สายพันธุ์ไอวอรีโคสต์ และสายพันธุ์เรสตัน (Reston) มักไม่ทำให้เกิดอาการรุนแรง และยังไม่มีรายงานการเสียชีวิตจากสายพันธุ์เรสตัน (Reston)

อาการของโรคติดเชื้อไวรัส อีโบลา และระยะฟักตัว

ระยะฟักตัวประมาณ 2 – 21 วัน ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาจะมีไข้สูงทันทีทันใด อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ และเจ็บคอ ตามด้วยอาการ อาเจียน ท้องเสีย และมีผื่นนูนแดงตามตัว (maculopapular rash) ในรายที่มีอาการรุนแรงและเสียชีวิต จะพบมีเลือดออกง่าย โดยเกิดทั้งเลือดออกภายในและภายนอกร่างกาย (internal and external bleeding) มักเกิดร่วมกับภาวะตับถูกทำลาย ไตวาย หรือก่อให้เกิดอาการของระบบประสาทส่วนกลาง ช็อก และเสียชีวิตได้

7 คำตอบ · +3 โหวต · 0 รายการโปรด · 26 อ่านแล้ว

ประชากรรับโรคนี้ครั้งแรกเมื่อผู้ป่วยสัมผัสกับเลือดหรือของเหลวร่างกายจากสัตว์ที่ติดเชื้อ เช่น ลิงหรือค้างคาวผลไม้ เชื่อว่าค้างคาวผลไม้เป็นตัวพาและแพร่โรคโดยไม่ได้รับผลกระทบจากไวรัส เมื่อติดเชื้อแล้ว โรคอาจแพร่จากคนสู่คนได้ ผู้ที่รอดชีวิตอาจสามารถส่งผ่านโรคได้ทางเพศสัมพันธ์เป็นเวลาเกือบสองเดือน

+3 โหวต · 0 ตอบกลับ

ตอนนี้ทาง WHO เฝ้าและคอยควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด

ฝั่งไทยเราก็ต้องตรวจคนเข้าเมืองอย่างเข้มงวดด้วย

+3 โหวต · 0 ตอบกลับ

แม้ตอนนี้ยังไม่มียารักษา แต่ก็มีคนเข้าไปช่วยเหลือมาก

มาตรการในการคัดกรองคนเข้าออกประเทศ ต้องเข้มงวด โรคจะได้ไม่มาไทย

เช่น สนามบิน ต้องดูแลบ ตรวจหาโรคให้เข้มงวด

พุดแล้วเห็นใจพวกเค้ามาก เคยเป็นโรคไข้เลือดออกเกือบตายมาสองรอบ คิดว่าน่ากลัวแล้ว ซ้ำยังต้องไปให้หมอเนาะเลือดทุกวัน ตรวจว่า เชื้อหมดยัง แต่ของอีโบล่ามันร้ายกว่ามาก

อยากมีส่วนช่วยพวกเขา ทางเงินเล็กน้อยก็ยังดี

+2 โหวต · 0 ตอบกลับ

ถ้ามียารักษาให้หายขาดได้ ก็คงรอด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาตัวเองของผู่ป่วยด้วยค่ะ

+1 โหวต · 0 ตอบกลับ

ว่าแต่มันติดต่อกันได้ยังงัย..มีพาหะมั้ย..ข้อมูลไม่ครบอ่ะ...หรือว่าแค่ไปสุงสิงเหมือนคุณหมอนั่นก็มีสิทธิ์..

แต่ก็คงทำเหมือนตอนหวัดมั้ง..ไม่ค่อยออกไปไหน..ถ้าไปก็ป้องกันตัวเอง..

+1 โหวต · 0 ตอบกลับ

รอด เพราะเราจะล่าอีโบ... 5555

+0 โหวต · 0 ตอบกลับ

ถ้าเอาใจใส่ในการป้องกันรักษาอย่างถูกต้อง ก็คงจะไม่มีปัญหา เพราะโรคระบาดส่วนใหญ่

ย่อมที่จะมีเวลาสามารถเตรียมการป้องกันรักษาล่วงหน้าได้เสมอๆ....เอาอยู่.....เอาอยู่.....เอาอยู่.

... อีโบล่า....หรือจะสู้ ....โอบาม่า .... แต่ทั้ง อีโบล่า และ โอบาม่า ก็จะแพ้ > อะมีบา.- Ameba. < อยู่ดี.

เข้ามาระบาด ในไทย คุณคิดว่าคุณจะรอดไหม ?

ผมคิดว่า ไม่น่ามีปัญหานะ เพราะ..ห่างจากผมตั้ง 8,400ไมล์

ขอขอบคุณ ข้อมูล + ความห่วงใย ครับ.

หมายเหตุ...ข้อมูลเพิ่มเติม....

เชื้อไวรัสอีโบลา...จะติดต่อกันได้ โดยผ่านการสัมผัสของเสียจากร่างกาย อาทิ อุจาระ อาเจียน หรือการรับประทานอาหารร่วมกัน.

การนั่งอยู่ใกล้. และ ใช้อากาศบริเวณนั้นในการหายใจร่วมกัน > ไม่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ.

+0 โหวต · 0 ตอบกลับ

คำตอบของคุณ

(ไม่บังคับ)

เพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีการตอบกลับ

คำถามที่คุณอาจจะสนใจ

คำถามในป้ายกำกับ
ถามคำถาม